ประเพณีและวัฒนธรรมของจังหวัดระยอง…
งานเทศกาลกีฬา-กินปลาบ้านฉาง

จัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ในงานมีมหกรรมอาหารทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารทะเลสด และการแข่งขันกีฬาที่ชายหาดพลา พยูน น้ำริน ในเขตอำเภอบ้านฉาง
งานเทศกาลเที่ยวทะเลหาดบ้านเพ-เกาะเสม็ด
จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 6 – 10 ธันวาคมของทุกปี กิจกรรมที่น่าสนใจได้แก่ การล่องเรือรอบเกาะเสม็ด มหกรรมอาหารทะเล การประกวดธิดาชาวเล และการแข่งขันฟุตบอลดารา
งานห่มผ้าเจดีย์กลางน้ำ
จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงวันเพ็ญเดือน 12 ณ วัดปากน้ำ อ.เมือง จ.ระยอง โดยมีกิจกรรมสำคัญคือ การห่มผ้าพระเจดีย์กลางน้ำ การแข่งเรือยาว การลอยกระทง และการแสดงมหรสพต่างๆ
งานวันสุนทรภู่
จัดขึ้นในวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี บริเวณอนุสาวรีย์สุนทรภู่ ต.กร่ำ อ.แกลง ในงานมีพิธีสักการะอนุสาวรีย์สุนทรภู่ นิทรรศการผลงานของสุนทรภู่ การแสดงละครในวรรณกรรม การแข่งขันอ่านทำนองเสนาะ เป็นต้น
ประเพณี , การละเล่น
จังหวัดระยองมีขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ของจังหวัด นอกจากจะมีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีประเพณีที่สำคัญซึ่งถือปฏิบัติกันโดยทั่วไป สามารถสรุปประเพณีที่สำคัญ ๆ ได้ดังนี
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีสงกรานต์ คำ “ สงกรานต์ “ นี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ . ศ . ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทศกาลเนื่องในการขึ้นปีใหม่อย่างเก่า ซึ่งกำหนดตามสุริยุคติตกวันที่ ๑๓-๑๔-๑๕ เมษายน ในเรื่องนี้ หมายถึงเป็นวันที่พระอาทิตย์โคจรเข้ามาสู่เมษ เรียกกันว่า วันสงกรานต์ ตามความเป็นมานั้นจะมี ๓ วัน คือวันที่เรียกว่า ยกขึ้นสู่ราศีเมษวันหนึ่ง ต่อไปก็เป็นวันเนาว์วันหนึ่งและวันเถลิงศกอีกวันหนึ่ง นั้นก็คือวันที่ ๑๓ ,๑๔ และ ๑๕ เมษายน ดังที่พจนานุกรมกล่าวไว้ เรื่องสงกรานต์นี้ มีมาแต่สมัยโบราณสงกรานต์นของทุกปีจะมีนางสงกรานต์ประจำปีนั้น ๆ มีคำทำนายเรื่องพืชพันธุ์ธัญญาหาร เกณฑ์พิรุณศาสตร์ และดูวันตามราศีดิถีฤกษ์ว่าวันอะไร เป็นวันธงชัย อธิบดี อุบาทว์ โลกาวินาศ ซึ่งความเป็นมาจะอาศัยนิทาน เรียกว่า นิทานสงเคราะห์ช่วยในการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ เรื่องนิทานนั้นกล่าวว่า มีเศรษฐีคนหนึ่งไม่มีบุตร ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้บ้านนักเลงสุรา ซึ่งมีบุตร ๒ คน รูปงามผิวเนื้อดุจทอง อยู่มาวันหนึ่งนักเลงสุรานั้นเข้าไปสู่บ้านเศรษฐี แล้วกล่าวคำหยาบคายด่าทอเศรษฐีต่างๆ นานา เศรษฐีได้ฟังจึงถามว่าพวกเจ้ามาพูดจาหยาบช้าดูหมิ่น เราผู้เป็นเศรษฐีเพราะเหตุใด นักเลงสุรา จึงตอบว่า ท่านมีสมบัติมากมาย แต่หามีบุตรสักคนไม่ เมื่อท่านตายไปแล้ว ทรัพย์สมบัติไม่มีผู้ปกครองสืบต่อก็จะสูญหายหาประโยชน์อันใดมิได้ แต่เรานั้นมีลูกถึง ๒ คน รูปร่างก็งดงาม เราจึงดีกว่าท่าน เศรษฐีผู้ไม่มีบุตรได้ฟังก็รู้สึกละอาย จึงบวงสรวงพระอาทิตย์และพระจันทร์ อธิษฐานขอให้มีบุตร อธิษฐานอยู่ถึง ๓ ปี ก็ไม่มีวี่แววจะมีบุตรดังที่ตั้งใจไว้ ต่อมาในปีหนึ่งเมื่อถึงฤดูคิมหันต์ จะมีการละเล่นรื่นเริงอยู่ทั่วไป เศรษฐีก็พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ เอาข้าวสารล้างน้ำ ๗ ครั้ง แล้งหุงบูชารุกเทวดา พร้อมด้วยอาหารต่าง ๆ ดุริยางค์ดนตรีมีประโคม อธิษฐานขอบุตรต่อรุกเทวดา คราวนี้ได้ผล ธรรมบาลเทพบุตรลงมาปฏิสนธิในครรภ์ของภรรยาเศรษฐี เมื่อคลอดแล้วให้ชื่อว่า “ ธรรมบาลกุมาร “ และสร้างประสาทให้อยู่ใกล้ ๆ กับต้นไทรนั้น เมื่อกุมารเจริญวัยได้เรียนรู้ศิลปศาสตร์ต่างๆ จนจบไตรเทพและรู้ภาษาสัตว์ตั้งแต่อายุได้ ๗ ขวบ และยอมรับนับถือ เป็นอาจารย์บอกมงคลการแก่มนุษย์ได้ ครั้นท้าวกบิลพรหมทราบ เหตุการณ์นั้น จึงลงมาถามปัญหาธรรมบาลกุมาร ๓ ข้อ โดยสัญญาว่า ถ้าธรรมบาลกุมารแก้ไม่ได้ จะต้องตัดศีรษะบูชา แต่ถ้ามีความสามารถแก้ปัญหาได้กบิลพรหมก็จะตัดศีรษะของตนบูชาเช่นกัน ปัญหาที่ถาม ๓ ข้อนั้นก็คือ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผลปรากฏว่า ธรรมบาลกุมารตอบได้ หลังจากขอเลื่อนเวลาไป ๗ วัน หนีออกไปตาม ป่าและได้ยินนกอินทรีคู่ผัวเมียได้โต้ตอบปัญหานี้ ให้ได้ยินจึงได้นำมาตอบแก่ท้าวกบิลพรหมดังนี้ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เป็นอันว่าท้าวกบิลพรหมแพ้สัญญา จึงจำเป็นต้องตัดศีรษะของตนบูชาแก่ธรรมบาล กุมาร ท้าวเธอจึงตรัสเรียกธิดาทั้งเจ็ด อันเป็นบาทบริจาริกาของพระอินทร์ ซึ่งได้แก่ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ซึ่งโลกสมมุติว่าเป็นองค์มหาสงกรานต์กับเทพบริษัทแล้ว ได้เล่าเรื่องราวให้ฟังและตรัสว่า ศีรษะของตนถ้าตั้งไว้ในแผ่นดินไฟก็จะไหม้โลกธาตุ ถ้าโยนไปในอากาศฝนก็จะแล้ง ถ้าทิ้งลงไปในมหาสมุทรน้ำในมหาสมุทรก็จะแห้งขอด จึงให้ธิดาทั้ง ๗ เอาพานมารองรับศีรษะไว้ ครั้นแล้วกบิลพรหมก็ตัดศีรษะของตนเองให้แก่นางทุงษะบุตรคนโต โลกธาตุก็เกิดโกลาหล จึงได้ทำพิธีใหม่แห่รอบเขาพระสุเมรุราชแล้วเชิญเข้าไปประดิษฐานในถ้ำคันธุลี เขาไกรลาส บูชาด้วยเครื่องทิพย์ต่างๆ เมื่อครบปีถือว่าเป็นวันสงกรานต์นางเทพธิดาทั้ง ๗ องค์ ก็ทรงพาหนะต่างๆ เปลี่ยนเวรกันมาเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมออกแห่พร้อมด้วยเทพทั้งหลายรอบเขาพระสุเมรราชทุกปี แต่ละปีจะเป็นนางสงกรานต์เทพธิดาใด ขี่พาหนะใด ให้คุณประโยชน์เพียงใด มียาม ราศี ดิถีฤกษ์ วันใดเป็นธงชัย อธิบดี อุบาทว์ โลกาวินาศ ก็ใช้การคำนวณเป็นปีๆ ไป ตำนานสงกรานต์ก็มีมาดังกล่าวนี้ แต่ประเพณีของเราเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ นั้นผูกพันกับศาสนาและประเพณีท้องถิ่นซึ่งเป็นเรื่องราวของการบุญการกุศล สร้างสมความดี กตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณและอวยพร ขอพร เพื่อเป็นศิริมงคลต่อไป | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีสงกรานต์ในปัจจุบันของจังหวัดระยอง สงกรานต์จังหวัดระยอง มีจัดกันทั่วไปทั้งในส่วนจังหวัด อำเภอและทุกๆ ตำบล ส่วนมากจะจัดกันตามวัด ตามสนามโรงเรียน ศาลากลางบ้าน หรือในหมู่บ้านที่ชุมชนหนาแน่น จุดมุ่งหมายในการจัดกิจกรรม เป็นประเพณีแสดงเอกลักษณ์ไทยมาแต่โบราณ เป็นการทำบุญสร้างกุศลเพราะถือว่า เป็นปีใหม่ของไทย จัดให้มีการรดน้ำดำหัว อวยชัยให้พรขอพรท่านผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ซึ่งถือว่าเป็นศิริมงคลเพื่อความก้าวหน้าในชีวิต กำหนดการจัดกิจกรรม ประเพณีสงกรานต์ เริ่มกันตั้งแต่วันที่ ๑๓ เมษายน คือวันมหาสงกรานต์เป็นต้นไป มีการทำบุญที่วัดใกล้บ้านของตน ในตอนเช้าปล่อยนก ปล่อยปลา ปล่อยเต่า ซึ่งก็เรียกกันว่าทำบุญและปล่อยสัตว์ก็แล้วกัน จากนั้นจะมีการสรงน้ำพระ การเล่นพื้นเมือง เช่น เล่นสะบ้า มอญซ่อนผ้า งูกินหาง ลูกช่วงโยน พุ่งกระสวย เสือกินวัว เล่นเตย ตระกร้อ ฯลฯ ส่วนมากเป็นการเล่นที่ถอดแบบมาจาการเล่นในโรงเรียนเพราะเด็ก ๆ ได้เคยเรียนเคยเล่นมาแล้ว ส่วนการเล่นแบบประเพณีเก่า ๆ เท่านั้น ในช่วงสงกรานต์นี้ในตอนกลางคืนบางแห่งมีการเล่นลงผี เรียกผีเชิญผี เช่น เล่นผีแม่ศรี ผีสิง ผีลอบ ผีกระหูด ผีสาก แต่ละอย่างมีคำร้องเชิญต่างๆ กัน มีลูกคู่ กระทุ้งเสารอบวงเป็นการเชิญหรือเรียกผีต่างๆ เพราะถือกันว่ายามตรุษยามสงกรานต์ ได้ปล่อยผีทุกจำพวกมารับส่วนบุญของวงศาคณาญาติ นอกจากนั้น มีการสรงน้ำพระอาบน้ำท่านผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ส่วนวันสุดท้ายของการเล่นสงกรานต์ของแต่ละหมู่บ้าน มักจะเป็นประเพณียืดเยื้อออกไปอีก ๗ - ๑๕ วัน จะมีการทำบุญเรียกว่าทำบุญกลางทุ่ง หรือทำบุญพระทรายน้ำไหล ( ชาวบ้านเรียกสั้น ๆ ว่าวันไหล ) จะมีการเล่นสาดน้ำกันเป็นที่สนุกสนาน และทำกระทงลอยทุกข์ ลอยโศก ขอให้โชคดีในหมู่บ้านใกล้ๆ กันมักจะนัดไป “ ไหล “ หมุนเวียนกันไปในแต่ละท้องที่ บางแห่งมีการจุดพลุจุดตะไล ดอกไม้ไฟกันด้วย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีการทำบุญวันไหลท้ายวันสงกรานต์ ในเทศกาลสงกรานต์อันถือว่าเป็นการขึ้นปีใหม่ของไทย ในท้ายวันสงกรานต์ประมาณ ๑ สัปดาห์ ชาวบ้านก็จะนัดทำบุญไหล คือไปทำนอกวัดโดยเลือกสถานที่ใกล้ ๆ แม่น้ำลำคลองชายทุ่ง หรือศาลาที่ประชาชนในหมู่บ้านไปพบกันเป็นประจำ โดยนิมนต์พระเจริญพระพุทธมนต์เย็น ในตอนเช้าประชาชนก็นำอาหารคาวหวานไปทำบุญกัน ถวายภัตราหารเช้าเหมือนกับพิธีทำบุญอื่น ๆ หลังจากนั้นชาวบ้านจะสรงน้ำพระที่มาทำบุญ ตลอดจนผู้ใหญ่ก่อนหลังจากนั้นหนุ่มสาวจะเล่น หามกันลงน้ำ อาบน้ำ สาดน้ำกัน และจะมีพิธีลอยทุกข์ คือกากหมาก กาบกล้วย ทำเป็นกระทง และใส่ของปล่อยทุกข์โศกให้ลอยไปตามแม่น้ำโดยอธิฐานว่าของไม่ดี ทุกข์โศกทั้งหลายในปีเก่าขอให้ หมดไปขอให้โชคดีมีลาภเจริญก้าวหน้า สมความปรารถนาตลอดปีใหม่เป็นต้น | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีขนทรายเข้าวัด
ประเพณีขนทรายเข้าวัด มีมานานตั้งแต่โบราณกาล ถือกันว่า เมื่อเข้าวัดแล้วเดินออก ไปนอกวัด การเดินออกไปนอกวัดอาจจะมีดินติดเท้าออกไป ทำให้เกิดบาปอีกประการหนึ่งการ ขนทรายเข้าวัดแล้วควรจะก่อเป็นเจดีย์ทราย เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า หมายถึงบูชา “ พระจุฬามณีเจดีย์ “ ที่พระอินทร์นำเอาของ ๔ อย่าง คือ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ในปัจจุบันการขนทรายเข้าวัดยังมีให้เห็นในวัดเขตอำเภอแกลง ซึ่งทางวัดมักจะนำทรายมาเทกองให้ชาวบ้านก็จะก่อเจดีย์ทรายเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า หลังจากทำบุญเสร็จแล้วถือเป็นการขนทรายเข้าวัดเช่นกัน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีทำบุญส่งสงกรานต์
ประเพณีทำบุญส่งหลังจากทำบุญสงกรานต์ที่วัดแล้วประมาณ ๑๕ วัน และนิยมทำตามศาลาท่าน้ำ คลอง หนอง บึง เป็นต้นเหตุที่ทำคือ ทำให้ผีที่ไม่มีญาติและภูตผีปีศาจ ที่ชอบเข้าสิงมนุษย์ที่มีจิตใจอ่อนตกใจง่ายเมื่อพระภิกษุฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว จะเอาเรือที่ทำด้วยกาบหมาก หรือทำด้วยไม้ระกำ นำอาหารคาวหวานใส่ในเรือปล่อยลงคลอง หนอง บึง นิยมสวดบทขัด “ รัตนสูตร “ ขึ้นว่า “ ปนิธานโต “ เพราะเป็นมนต์สำหรับขับภูติผีปีศาจ และในระหว่างนั้นต้อง ทำเสียงร้องเรียกชักชวนบ้าง กู่บ้างเพื่อให้ภูติผีปีศาจเหล่านั้นลงเรือไป ป้องกันมิให้มารบกวนกันภายหลัง ในสมัยโบราณ เมื่อมีภูติผีปีศาจ ห่า มาลงสิงสู่พวกมนุษย์ หรือสัตว์ต่าง ๆ ชาวพุทธมักนิยมอาราธนาพระภิกษุสงฆ์มา ๔ รูป สวดมนต์ “ รัตนสูตร “ เวลาประพรมน้ำพระพุทธมนต์ด้วยบทขัด “ รัตนสูตร “ คือ ขึ้นบท “ ปนิธานโต “ ดังมีเรื่องตามพระสูตรเล่าไว้ในอรรถกถาว่าในสมัยหนึ่ง เมืองเวสาลีมีประชาชนมากทั้ง มีอาณาเขตกว้างขวาง มีพระมหากษัตริย์ครอบครองราชสมบัติ ผลัดเปลี่ยนเวียนกันมาถึง ๗๗๐๗ องค์ มีปราสาทที่ประทับของกษัตริย์เหล่านั้น ๗๗๐๗ หลัง แม้แต่สวนรื่นรมย์ก็มีสระโบกขรณี ๗๗๐๗ แห่งเช่นกัน อยู่ต่อมาเมืองเวสาลีเกิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ฝนแล้ง ไม่ตกต้องตามฤดูกาล คนอดอยากจึงล้มตายเป็นจำนวนมาก ตายแล้วไม่มีผู้ใดสนใจ เอาไปฝังหรือเผา ทำให้เกิดกลิ่นศพฟุ้งกระจายไปทั่วเมือง มีปีศาจจำพวกที่กินศพเป็นอาหารก็เข้ามาในเมืองเวสาลีกินศพคนตาย ยิ่งกว่านั้นยังหันมาชิมเนื้อมนุษย์ ที่กำบังเจ็บป่วยยังไม่ตายดูบ้าง ปรากฏว่ามีรสชาติอร่อยกว่า กินซากศพ เลยลามไปถึงมนุษย์ที่สกปรก เช่นคนตื่นนอนแล้วไม่ล้างงหน้าเวลานอนไม่ล้างเท้า บ้านเอนไม่กวาดเช็ดถู แม้เสื้อผ้าสกปรกเหม็นสาบไม่ซักรีด ก็ถูกปีศาจเข้าสิงสู่ดูดกินโลหิตเป็นอาหาร มนุษย์ตายลงเพราะถูกปีศาจรบกวนเป็นอันมาก เมื่อเป็นดังนี้ จึงเกิดอหิวาตกโรคเพราะซากศพทิ้งบนถนนหนทาง ในแม่น้ำลำคลอง มนุษย์ได้ล้มตายด้วยโรคอหิวาตกโรคเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ฯ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ได้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างนี้ชาวเมืองทั้งหลายจึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าลิจฉวี ผู้ครองนครแล้วกราบทูลว่า เหตุการณ์อย่างนี้ไม่เคยมีมาก่อนเลยจะเป็นเพราะว่าพระเจ้าแผ่นดินไม่ตั้งอยู่ใน ทศพิธราชธรรมกระมัง
พระเจ้าลิจฉวี ยินยอมให้ชาวเมืองตรวจดูว่า พระองค์บกพร่องจริยาวัตรของพระราชาหรือไม่ แต่เมื่อชาวเมืองตรวจดูคุณธรรม ๑๐ ประการ คือ ๑. ทาน การเสียสละทรัพย์สมบัติสิ่งของบำรุงเลี้ยงประชาราษฏร์บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ๒. ศีล มีความประพฤติดีงาม สำรวมระวังกายวาจาประกอบแต่การสุจริต ทำตัวอย่างที่ดีเป็นที่เคารพของประชาราษฎร์ ฯ ๓. ปริจจาคะ การบริจาคเสียสละความส่วนตัว ตลอดจนชีวิตของตนเพื่อความสุขของประชาราษฎร์ เพื่อความเรียบร้อยของบ้านเมือง ฯ ๔. อาชวะ ความซื่อตรงไม่ทรงไร้สัจจะ ปฏิบัติภารกิจมีความจริงใจต่อประชาราษฎร์ฯ ๕. มัทวะ ความอ่อนโยน มีอัธยาศัย ไม่กระด้างถือองค์ มีความสง่างาม กิริยาสุภาพนิ่มนวลละมุนละม่อม ฯ ๖. ตปะ คือการเผากิเลสตัณหามิให้เข้าครอบงำจิต ระวังยับยั้งข่มใจไม่ให้ลุ่มหลงความสุขปรนเปรอ มุ่งมั่นแต่บำเพ็ญเพียร ฯ ๗. อักโกธะ ความไม่ทรงกริ้วโกรธ ลุอำนาจโทสะ จนเป็นเหตุให้ไม่ผิดศีลธรรม วินิจฉัยความเป็นไปด้วยเมตตา ๘. อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน ไม่บีบคั้นกดขี่เก็บรีดภาษีหรือเกณฑ์แรงงานเกินไปไม่ลงอาชญากรรม ด้วยขาดความเมตตา ๘. ขันติ ความอดทนตรากตรำ ถึงจะลำบากกายเหนื่อยหน่ายสักเพียงใดก็ไม่ท้อถอย ไม่หมดกำลังใจ ไม่ละทิ้งคุณธรรมที่บำเพ็ญมา ฯ ๑๐. อวิโรธนะ ความไม่ประพฤติผิดธรรม ความไม่คลาดธรรมไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหวต่อถ้อยคำที่ดีร้าย หรือเป็นอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารณ์ ใด ๆ ทั้งสิ้น ฯ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประชาราษฎร์ทั้งหลายได้ตรวจทั้งหลายได้ตรวจดูคุณธรรมทั้ง ๑๐ ข้อ แล้วไม่เห็นว่ามีข้อบกพร่องเลยชาวเมือง จึงบนบานศาลกล่าวบวงสรวงเทวดาอารักษ์ขอให้ช่วยขจัดปัดเป่าภัยพิบัตินั้นได้ แม้แต่จะลดน้อยเบาบางก็หาไม่ มีอำมาตย์ผู้หนึ่งทูลพระเจ้าลิจฉวีว่า คงจะมีแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง จากกิเลสาสวะเป็นพระอรหันต์ มีน้ำพระทัยประกอบไปด้วย เมตตากรุณา หาที่เปรียบเสมอมิได้ ถ้าพระพุทธเจ้าทรงมาโปรดภัยครั้งนี้จักพินาศไปแน่ ๆ พระองค์ทรงพิจารณาด้วยเถิดพระเจ้าขา พระเจ้าลิจฉวี ทรงเห็นด้วยแล้วมอบให้อำมาตย์ผู้ใหญ่ เป็นผู้นำขบวนไปทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า โดยผ่านพระเจ้าพิมพิสาร เพราะพระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์ ของพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารทรงช่วยอาราธนาพระพุทธเจ้าให้เด็จไปโปรดโดยเด็จไปทางชลมรรคพร้อมด้วยพระภิกษุงฆ์ ๕๐๐ รูป เป็นบริวารเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึงเมืองเวสาลี ย่างพระบาท จดพื้นปฐพีมหาเมฆตั้งขึ้นยังฝนให้ตกลงมาท่วมเมืองเวาลี น้ำไหลนองพาพัดอาซากศพไปในมหาสมุทรจนพื้นที่สะอาดดีแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอานนท์ว่า “ อานนท์ “ เธอจงเรียนมนต์บท รัตนสูตรแล้วเที่ยวให้ทั่วเมืองเวสาลี จึงถือเอาบาตรเสลมัยของตถาคตตักน้ำพระพุทธมนต์ประพรมไป พวกปีศาจก็จะหนีออกทันที “ พระอานนท์ รับทราบปฏิบัติตาม ได้สวดบทรัตนสูตรแล้วประพรมน้ำ พระพุทธมนต์ ด้วยบท “ ปนิธานโต “ ยังความเจ็บปวดให้พวกปีศาจยิ่งนักจนทนไม่ไหวด้วยบารมี ๓๐ ทัศ ของพระพุทธเจ้า จึงพากันวิ่งหนีออกจากประตูเมือง ไม่ทันแดกกันจนกำแพงเมืองนั้นพัง ยังความ ปลื้มปิติให้ชาวเมืองเป็นอันมาก ( คำว่า “ แดก “ หมายถึง เบียดเสียดยัดเยียดกัน ) พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อขจัดภัยแล้ว ทรงเทศโปรดพวกเทวดาและชาวเมืองงด้วยบท รัตนสูตรเมื่อจบพระธรรมเทศนา ยังความเจริญสิริสวัสดิ์บังเกิดมีแก่ราชตระกูล และประชาชน ชาวเมืองนครเป็นอันดับมาก แล้วพระพุทธเจ้าก็ทรงเสด็จกลับไปยังเมืองราชคฤห์ดังนี้ ปัจจุบันประเพณีทำบุญส่งสงกรานต์ยังมีให้เห็นอยู่ในเขตท้องที่อำเภอแกลง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีสงกรานต์ที่วัดตาขัน อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วัดตาขัน อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เป็นแหล่งอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นแห่งหนึ่ง ผู้นำสำคัญ คือ พระครูวิบูลย์ภารกิตต์ เจ้าอาวาส ประเพณีสงกรานต์ที่วัดนี้ ได้ร่วมนัดจัดฟื้นฟูมาตั้งแต่ พ . ศ . ๒๕๒๐ ซึ่งกำหนดวันที่ ๒๐ เมษายน ของทุกปี เป็นวันสงกรานต์กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นมาดังนี้ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑ . การจัดขบวนแห่ ส่วนใหญ่ที่จัดเป็นขบวนกลองยาว พร้อมนางรำเป็นที่สนุกสนาน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๒. จัดพิธีสรงน้ำพระ ได้จัดให้พุทธศาสนิกชนได้สรงน้ำพระทั้งวัดพร้อมกัน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๓. การเล่นสะบ้าทอย ได้ประชาสัมพันธ์ถึงหมู่บ้านใกล้เคียงต่างๆ ได้ส่งทีมหนุ่มสาว ต่างท้องที่ หรือทีมแม่หม้าย ได้เข้ามาแข่งขันกับทีมหนุ่มสาวท้องถิ่นเท่าที่จะจัดมา หมู่บ้านที่ส่งทีมสะบ้าเข้าแข่งขันมี บ้านชากขนุน บ้านไร่นายายอาม บ้านเขาวังม่าน บ้านทุ่งโพธิ์ และบ้านตาขัน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๔. การเล่นมีฟ้อนรำพื้นเมืองแบบไทยเดิม สำหรับในปี ๒๕๓๑ นั้น ศูนย์วัฒนธรรม จังหวัดระยอง ได้นำวงดนตรีไทยไปแสดงมีชาวต่างประเทศที่ปฏิบัติการอยู่ ณ ฐานทัพเรือสัตหีบมาร่วม ๔ คน รายได้ต่าง ๆซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการจำหน่ายปลา ลงทุนไปทั้งหมดประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาท รายได้ ๓๐,๐๐๐ บาทเศษ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จากการได้รับความร่วมมือในการจัดงานประเพณีสงกรานต์ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีของเราแล้ว ยังได้รับบริจาคทรัพย์จากผู้ใจบุญกุศลซึ่งได้รวบรวมจัดตั้งมูลนิธิเพื่อการศึกษาวัดตาขัน ปัจจุบันมียอดมูลนิธิอยู่ ๓๗๐,๐๐๐ บาทเศษ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การจัดงานประเพณีสงกรานต์ของวัดตาขันก็คงสรุปได้เช่นเดียวกับคำประพันธ์ดังต่อไปนี้ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สำหรับจังหวัดในสงกรานต์ เทศบาลได้เชิญชวนไปทั่วทุกอำเภอ จัดขบวนแห่แปลก ๆ ร่วมแห่พระพุทธอังคีรส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำเมืองระยอง ไปรอบตลาดในเขตเทศบาลเสร็จแล้ว สรงน้ำสักการะปิดทอง และเท่าที่ปฏิบัติมา เป็นที่น่าชื่นชมว่าได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน บริษัท ห้างร้าน ธนาคาร และสมาคมต่าง ๆ ด้วยดี ยิ่งกว่านั้นผู้ไปร่วมหรือผู้ที่อยู่แนวทางผ่านได้รับน้ำพระพุทธมนต์ จากหลวงพ่อวัดต่างๆ เพื่อเป็นสิริมงคลอีกด้วย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทุกท่านควรได้ไปร่วมงานในวันปีใหม่ของไทย โดยหาโอกาสร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นสิริมงคลของเราต่อไป
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
( จาก .. หนังสือวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นจังหวัดระยอง ... อำนาจ มณีแสง )
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีตักบาตรเทโว
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การตักบาตรเทโวของวัดพลงช้างเผือก ก็ได้ทำกันมาเป็นประเพณีตั้งแต่โบราณกาลแล้วแต่ไม่เอิกเกริก และเป็นพิธีการ เช่นปัจจุบันนี้ คือเช้าวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ พระสงฆ์ออกจากโบสถ์บิณฑบาตรอยู่ในบริเวณลานวัด แล้วขึ้นวัดเพื่อฉันภัตตาหารเป็นเสร็จพิธีการตักบาตรเทโว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๗ พระครูใบฏีกามาลัย ได้ปรับปรุงพิธีการให้ดียิ่งขึ้นโดยจัดทำปราสาทจำลองสมมุติเป็นไพชยนต์มหาปราสาท พร้อมจัดผู้แต่งตัวสมมติเป็นพระอินทร์พระพรหม และเหล่าเทพยาดาทั้งหลายตามเสด็จ จัดให้มีผู้ถือเครื่องสูง เช่น บังแทรก บังสูรย์ เป็นต้น มีนางฟ้า นางสวรรค์โปรยข้าวตอกดอกไม้ เดินนำหน้าขบวน กับมีขุดเปรตตามหลังขบวน สำหรับชุดเปรตนี้ มีผู้บริจาคเงินให้บ้างเล็กน้อย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ในปี พ . ศ . ๒๕๐๘ คุณ ระวี ปัญญายิ่ง สมัยดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดป่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง ได้มาเยี่ยมเยียน พระครูใบฏีกามาลัย ปภทฺทโก วัดพลงช้างเผือก ได้สนทนาเรื่องต่าง ๆ หลายเรื่อง และมีเรื่องการตักบาตรเทโวด้วย ว่าการตักบาตรเทโวที่วัดป่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง เขาจัดกันคึกคักเอิกเกริก มีผู้แต่งกายสมมติเป็นพระอินทร์ พระพรหม เป็นต้นถือบาตรนำหน้าแถวพระสงฆ์รับปัจจัยผู้ที่มาตักบาตร ปัจจัยที่ได้รับบริจาคเหล่านี้ นำมาเป็นค่าใช่จ่ายในวัด และถวายเป็นค่ารถรับส่งพระที่นิมนต์มาจากวัด อื่น ๆ ด้วย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระครูใบฏีกามาลัย พิจารณาเห็นว่าที่แล้ว ๆ มามีแต่ค่าใช้จ่ายไม่มีรายรับเลยในปีต่อมา จึงจัดให้มีบาตรพระอินทร์รับบริจาคปัจจัยเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดพิธีนี้ ปรากฏว่ามีผู้ศรัทธาบริจาคใส่บาตรพระอินทร์เพียงพอแก่การใช้จ่ายแรกๆ ก็จัดทำกันในบริเวณลานวัดพลงช้างเผือกเช่นเดิมและเป็นการตักบาตรข้าวสุกเหมือนที่เคยทำกันมาก่อน แต่มาในปีหลัง ๆ มีผู้มาร่วมทำบุญมากขึ้นเห็นว่าข้าวสุก อาหารสดที่ญาติโยมนำมาทำบุญมากมาย พระฉันไม่หมดของเหลือต้องทิ้งไปจึงเปลี่ยนมาเป็นข้าวสาร อาหารแห้ง เพื่อโยมวัดจะได้เก็บไว้จัดภัตตาหาร ถวายพระได้นานวัน
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีตักบาตรเทโว ยังถือเป็นประเพณีประจำท้องถิ่นของชาวกิ่งอำเภอเขาชะเมาด้วย ซึ่งกำหนดชัดงานในเช้าวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ณ บริเวณที่ว่าการกิ่งอำเภอเขาชะเมา และยังมีการจัดงานในอำเภออื่น ๆ ด้วย
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีแข่งเรือยาวที่ปากน้ำประแสร์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปากน้ำประแสร์เมื่ออดีต
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปากน้ำประแสร์ เป็นชื่อของหมู่บ้าน เป็นชื่อของชุมชน เป็นชื่อของตลาดการค้าและเป็นชื่อของตำบลอันตั้งอยู่ตรงบริเวณฝั่งซ้ายของแม่น้ำประแส ออกสู่ทะเลในอ่าวไทย กับคำว่า “ ประแส ” นั้นเป็นชื่อของเรือรบหลวงชนิดเรือพริเกต ซึ่งตามข้อบังคับและแบบธรรมเนียมของกองทัพเรือจะตั้งชื่อตามแม่น้ำสำคัญ เช่น เจ้าพระยา ท่าจีน คือ “ เรือรบหลวง ประแส ” ซึ่งเป็นการตั้งชื่อตามแม่น้ำประแส และเรือรบหลวงประแสนี้ได้เคยผ่านราชการสงคราม ณ ประเทศเกาหนีมาแล้ว โดยเฉเพาะลำปัจจุบันนี้เป็นลำที่ ๒ ที่ชื่อ ” ประแส ” | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อนึ่ง อันชื่อว่า ปากน้ำประแสนี้ ได้เคยพบในบันทึกพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชายฝั่งทะเลฝั่งตะวันออกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรง เรียกว่า “ ปากน้ำกระแส ” เพราะมีเหตุที่แม่น้ำไหลมา เมื่อมาปะทะหรือพะกับกระแสน้ำที่ไหลออกมาจากคลองต่าง ๆ กระแสน้ำจะเปลี่ยนทิศทางอยู่เสมอ เช่น ตอนใกล้ปากน้ำ ตอนเหนือวัดดอนกอกล่าง แม่น้ำไหลมาถึงบริเวณใต้ท่าปอลงมา มาปะทะกับกระแสน้ำที่ไหลออกมาจากคลองเนินฆ้อ ซึ่งไหลออกเป็นทิศทางตะวันตกไปตะวันออกด้วย เมื่อไหลไปทางตะวันออกได้ประมาณ ๑ กิโลเมตรเศษ ๆ ถึงบริเวณแหลมเมือง ปัจจุบันก็ได้พะหรือปะทะกับกระแสน้ำที่ไหลออกมาจากคลองหนองโพง ซึ่งทิศทางไหลเป็นตะวันออกมาตะวันตก กระแสน้ำก็เปลี่ยนทิศทางใต้ทันที เป็นระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตรจนออกทะเลในที่สุด ด้วยเหตุนี้ก็อาจจะเป็นได้ที่เป็นเหตุให้ทรงเห็นว่าเป็น ปากน้ำกระแส | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความเป็นมา อันเป็นที่เกิดที่ตั้งของชุมชนปากน้ำประแสนั้น ไม่มีหลักฐานให้ค้นคว้าได้ชัดเจนในขณะนี้ แต่อนุมานได้ว่า ตอนสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และต้นรัตนโกสินทร์นั้น สังคมอาชีพของคนยังเป็นสังคมอาชีพเกษตร การประมงจะมีบ้านก็เป็นประมงน้ำจืด มิใช่ประมงทะเล การทำประมงทะเลเช่น ทำโป๊ะ จับอวน ในขณะนั้นคงยังไม่มี การตั้งที่อยู่อาศัยแม้จะอาศัยแม่น้ำ แต่ก็คงจะเป็นตอนบน ๆ เหนือ ๆ น้ำจืด ทำการกสิกรรมได้การเริ่มต้นน่าจะเป็นที่พักพิงชั่วคราว ของบรรดาชาวเรือที่หลบลมหรือเข้ามาปรับแต่งซ่อมเรือในแม่น้ำก่อน ชุมนุมชนส่วนใหญ่น่าที่จะอยู่ลึกเข้าไปด้านใน เพราะแม้ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนินทางเรือแล้วเสด็จขึ้นประทับ ณ พลับพลารับเสด็จแหลมสน เมื่อ ร . ศ . ๑๐๓ ( พ . ศ . ๒๔๒๗ ) นั้นยังบันทึกว่า ทางเมืองไว้กราบบังคมทูลว่า ด้านในยังมีบ้านเรือนอีกมาก ถ้าจะให้ประเมินพอที่จะกำหนดเวลาโดยประมาณแล้วก็พอจะกำหนดประมาณ ถอยหลังไปจากปีที่รับเสด็จอีกประมาณ ๑๕ เป็นอย่างน้อย คือเมื่อประมาณปี ร . ศ . ๙๗ หรือ พ . ศ . ๒๔๑๒ ก็เริ่มมีชุมชนพอสมควรที่บริเวณปากน้ำประแส มีการคมนาคมทางทะเลพอสมควร ทั้งนี้ อนุมานเอาจากประวัติของเจดีย์ที่ตั้งอยู่ ณ แหลมสนตรงที่ตั้งพลับพลารับเสด็จนั้น ตามหลักฐาน ปรากฎว่า พระยาพฤฒาบดี รักษาการเจ้าเมืองแกลง เป็นผู้ดำเนินการสร้างขึ้น ก่อนใช้รับเสด็จประมาณ ๑๒ - ๑๓ ปี การสร้าง สร้างเพื่อเป็นที่หมายกำหนดหมายปากน้ำให้เป็นที่สังเกตของชาวเรือ ก็หมายถึงว่าบริเวณนั้นก็ต้องมีการเดินเรือทางทะเลกันพอสมควร เมื่อมีการเดินเรือพอสมควร หมู่บ้านในแม่น้ำบริเวณปากแม่น้ำก็ต้องมีอยู่ไม่น้อย กับทั้งก่อน ร . ศ . ๑๐๓ หรือคิดเอาประมาณ ร . ศ . ๑๐๐ ( พ . ศ . ๒๔๒๔ เมืองแกลงมีที่ตั้งเมืองอยู่ที่บ้านแหลมเมือง เป็นอาณาเขตชิดติดต่อกับบ้านปากน้ำประแส ติดต่อไปมาสะดวก ประกอบการคมนาคมในสมัยนั้นเป็นการคมนาคมทางน้ำทางทะเล ณ ที่ปากน้ำประแสนั้นเป็นที่สะดวก มีแม่น้ำที่มีความลึกที่ปากน้ำพอที่เรือขนาดกลางจะเข้าออกได้โดยสะดวก บริเวณปากแม่น้ำไม่มีหินโสโครก หินใต้น้ำทะเลหรือสิ่งเกะกะอันตรายอื่น ๆ การคมนารมติดต่อกับกรุงเทพสะดวก ในแม่น้ำจอดเรือได้ มีแนวแม่น้ำที่จะลำเลียงสินค้าจากด้านพื้นที่ด้านในได้กว้างขวาง สะดวก ชุมชนจึงมีผู้คนย้ายเข้ามาอยู่มากขึ้น คนจีนก็ย้ายเข้ามาทำการค้าขาย ทำประมงมากขึ้น จึงเป็นชุมชนที่มีหลักฐานและเป็นชุมชนใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น และสภาพปัจจุบันของชุมชนปากน้ำประแสกับเมืองแกลงนั้นทางราชการกรุงเทพฯคงทราบสภาพดี ทั้งนี้เพราะเมื่อเกิดกรณีพิพาท ร . ศ . ๑๑๒ แล้วฝรั่งเศสได้ยึดเมืองเสียมราฐ ศรีโสภณ พระตะบอง กับเมืองเกาะกง หรือจังหวัดประจันตคีรีเขต จังหวัดคู่กับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ของไทยไปนั้น ท่าพระยาพิชัยฯ ท่านเจ้าเมืองเกาะกงหรือจังหวัดประจวบคีรีขันเขตของไทย มิได้รับคำสั่งให้กลับเข้ากรุงฯหรือไปรับราชการที่ไหน แต่ได้รับคำสั่งให้ตั้งนิวาสน์บ้านเรือนอพยพครอบครัวมาอยู่ที่เมืองแกลง โดยท่านได้มาตั้งนิวาสน์บ้านเรือนอยู่ ณ ปากคลองหนองโพง ฝั่งเดียวกับตลาดปากน้ำประแส คนละฝั่งคลองกับตัวเมืองแกลง อยู่ลึกเข้าไปจากแนวปากคลองประมาณ ๑๕๐ - ๒๐๐ เมตร เช่นเดียวกับที่ท่านเจ้าพระบาอภัยภูเบศร์ ผู้สำเร็จ ราชการเมืองพระตะบอง ซึ่งให้ตั้งนิเวศน์บ้านเรือนคอยอยู่ที่เมืองปราจีนบุรี | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ส่วนเมืองแกลง ซึ่งเป็นเมืองชั้นจัตวา จะมีขึ้นตั้งขึ้นตั้งแต่เมื่อใด สมัยใด ยังไม่มีเวลาและโอกาสที่จะทำการค้นคว้า แต่อย่างน้อยก็มีหลักฐานชัดเจนฟังได้ว่า เป็นเมืองที่มีอยู่แล้วในสมัยกรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้เพราะในตอนเสียกรุงนั้น เมืองแกลงเป็นเมืองที่มีการปกครอง การศาสนาเป็นหลักฐานอย่างยิ่ง ในทางศาสนาเมืองแกลงมีสงฆ์มีพุทธศาสนาเป็นหลักฐาน มีสงฆ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นสังฆราชเมืองแกลง ได้รับสมณศักดิ์เป็นที่ พระธรรมธีรราชมุนี ชื่อเดิมท่านชื่อ “ ชื่น ” ( เข้าใจว่าจะประจำพรรษาอยู่วัดทะเลน้อย วัดราชบัลลังก์ปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะพระเจ้าตากสิน พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงรู้จักและนับถือ ) ซึ่งเมื่อพระเจ้าตากสินได้ตั้งกรุง ขึ้นเสวยราชย์แล้ว ได้อาราธนาท่านพระธรรมธีรราชมุนี ( ชื่น ) สังฆราชเมืองแกลง เข้าไปอยู่ที่วัดเจ้าขรัวหงส์ ( วัดหงส์รัตนาวาส ) ริมคลองบางกอกใหญ่ ใกล้พระราชวัง และต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็น สมเด็จพนรัตน์ ( สมเด็จวันรัตน์ ปัจจุบัน ) ครองวัดหงส์รัตนาวาส กันทั้งต่อมาในตอนปลายรัชกาลธนบุรี ท่านได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช กรุงธนบุรี แทนสมเด็จพระสังฆราช แทนสมเด็จพระสังฆราชศรี วัดระฆังโฆสิตาราม ) ที่ถูกปลด แต่ท่านอยู่ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชกรุงธนบุรีไม่นาน เนื่องจากบ้านเมืองเกิดจราจลวุ่นวาย มีการยึดอำนาจวุ่นวาย มีการยึดอำนาจและสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ได้ยกกองทัพกลับจากการยกไปตีเขมรเข้ามาปราบปรามและยึดอำนาจแล้วทำการ ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ คือ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่๑ เมื่อบ้านเมืองพอสงบก็ได้จัดการทางศาสนา ได้พิจารณาแล้วโปรดเกล้าให้และท่านชื่อ พ้นจากตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช โปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระสังฆราชศรี วัดบางหว้าใหญ่กลับเป็นสมเด็จพระสังฆราชตามเดิม ส่วนท่านชื่อนั้น เนื่องจากเห็นว่ามิได้เป็นตัวการ และเป็นผู้มีความรู้พระไตรปิฎก จึงโปรดเกล้าฯ ให้กลับเป็นสมเด็จพระพรรัตน์ คงครอง วัดหงส์รัตนารามตามเดิม มิได้ต้องรับพระราชอาญา ส่วนพระราชคณะที่ร่วมด้วย ๒ รูป คณะผู้พิจารณาเสนอให้ลงโทษประหารชีวิตเสีย แต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ เห็นว่าเป็นผู้มีความรู้หนังสือ พอจะกลับตัวได้ จึงขอประทานโทษประหารชีวิตเสีย ให้สึก แต่ให้รับใช้ราชการ แต่ต่อมาท่านก็พลาดอีก ถูกกริ้วและถูกลดสมณศักดิ์ลงเป็นพระธรรมธีรราชมุนี แต่ต่อมาเมื่อมีการกระทำสังคายนาพระไตรปิฎก ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ท่านก็ได้รับความยินยอมให้มีเกียรติเข้าเป็นคณะกรรมการผู้ทำการชำระพระไตรปิฎกด้วยผู้หนึ่ง เพราะเหตุที่ท่านเป็นยอมรับว่าเป็นผู้มีความรู้ในพระไตรปิฎกดีนั่นเอง และต่อมาท่านก็จำพรรษาอยู่ที่วัดหงส์รัตนารามจนมรณภาพ แต่เมื่อใดจำไม่ได้ ( ค้นหาหลักฐานได้ที่วัดหงส์รัตนาราม ถ้าอยากรู้วันมรณภาพ ) ดังนี้ แสดงให้เห็นว่าเมืองแกลงนั้นเป็นเมืองที่มีขึ้นตั้งขึ้นอยู่แล้วตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่มิได้เป็นเมืองใหญ่ชนิดมีกำแพง มีค่ายคูหอรับเป็นหลักฐาน คงเป็นเพียงเมืองน้อย สถานที่ตั้งเมืองก็คงย้ายไปตามสถานที่ตั้งของท่านเจ้าเมืองเท่านั้น | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ดังนั้น พอจะประมวลฟังได้ว่าชุมชนที่บ้านปากน้ำประแสนั้นน่าจะมีมาตั้งแต่ก่อน ร . ศ . ๘๘ หรือปี พ . ศ . ๒๔๐๙ แต่ยังคงไม่หนาแน่น | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สภาพสถานที่ตั้งของชุมนุมชนปากน้ำประแสร์ ทั้งหมดส่วนใหญ่ตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำ ประแส ( หันหน้าออกกทะเล ) ทางฝั่งขวาเป็นเขตพื้นที่ของตำบลเน้นฆ้อ ไม่มีบ้านคน สภาพการตั้งบ้านเรือน เป็นการตั้งบ้านเรือนเรียงรายกันไปตามแนวริมน้ำ จากเหนือบริเวณปากคลองหนองโพงเรียบริแม่น้ำ เรื่อยไปตลอดจนถึงปากแม่น้ำ แล้วก็ข้ามไปมีบ้านเรือนที่ฝั่งแหลมสน การปลูกบ้าน ปลูกหันหน้าเข้าหากัน มีทางเดินหรือสะพานไม้คั่นกลางตลอดหัวจดท้าย ในสภาพเมื่อประมาณ พ . ศ . ๒๔๗๗ นั้น จากสะพานข้ามคลองหนองโพง ซึ่งก็เป็นสะพานไม้ปูกระดานตามยาว ๒ แผ่น เหมือนที่อื่น เป็นทางเดินเดินลงมาทางใต้ ทางปากน้ำยาวประมาณ ๓๐๐ เมตรเศษ ตอนนี้ในขณะนั้นบ้านเรือนยังมีห่าง มีที่ว่างมาก สุดทางเดินขึ้นสะพาน มีคลองเล็ก ๆ เป็นสะพานทอดยาวไปประมาณ ๒๐๐ เมตรเศษ จากระยะนี้จะถึงชาวจีน เป็นย่านการค้า สภาพบ้านเรือนจะมีหลังคาคลุมออกมาถึงสะพานและทางเดิน การเดินในบริเวณนี้จึงไม่ต้องกลัวแดด แต่ไม่คุ้มฝนถ้าเดินตอนกลาง ทางเดิน พอพ้นบ้านคนจีน ซึ่งเป็นทางเดินบางส่วนแล้วจะถึงย่านกลาง เป็นทางเดิน มีบ้านสองฝากเช่นเดิม อีกประมาณ ๑๐๐ เมตรเศษ มีทางแยกไปวัดตำเคียนงาม ในทางนั้นมีบ้านคนบ้างประปราย เข้าทางไปประมาณ ๑๐๐ เมตร ทางขวามือติดริมคลองเล็ก ๆ มีแหล่งขุดแต่งเรือมาอยู่ด้วย ส่วนทางตลาด เมื่อตรงไปทางใต้ตามบ้านคน เป็นสะพานไม้ แล้วไปลงทางดิน เดินไปประมาณ ๕๐ เมตร ทางซ้ายมือจะมีทางกว้างเป็นทางเข้าไปวิก ซึ่งใช้ได้ทั่งเล่นลิเก ฉาย ภาพยนต์ ตรงต่อไปก็เป็นสะพานไม้กระดาน ๒ แผ่น ปูตามยาวสลับกันทางเดินสั้น ๆ จนไปสุดทางที่เรียกว่า หัวโขด ในตอนล่างนี้บ้านคนค่อนข้างหนาแน่น คนหนาแน่น บ้านบางที่ปลูกซ้อนกันก็มี ส่วนที่บริเวณแหลมเมือง ยังมีบ้านเรือนตั้งอยู่ประมาณ ๑๐ หลังคาเรือน ตรงบริเวณปากคลองหนองโพง ส่วนเลยไปทางทิศตะวันตกมีโรงสีข้าวตั้งอยู่ ๑ โรง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตลาดปากน้ำประแสเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในเวลานั้น การค้าเป็นการค้าทังการขายและรับซื้อ การขายเป็นการขายสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องเมือเครื่องใช้ เป็นการค้าทั้งขายปลีกและส่ง ตลอดจนทำการรับซื้อสินค้าพื้นเมืองและของป่าเพื่อนำส่งขาย โดยเฉพาะเช่นกรุงเทพ เป็นตลาดจำหน่ายอาหารสด เพราะเป็นแหล่งลิตด้วย เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา เนื้อหมู ขนมของคนจีน เนื้อหมูนั้นที่ตลาดปากน้ำประแสมีจำหน่ายทุกวัน เพราะมีคนจีนทำการฆ่าหมูจำหน่ายเนื้อถึง ๒ เจ้า โดยเสียค่าธรรมขออาญาบัตรได้ที่บ้านกำนัน ไม่ต้องไปขอถึงที่ว่าการอำเภอ มีโรงงานทำขนมคนจีน มีโรงงงานลิตน้ำลีมอเนต ชนิดจุกลูกแก้ว โรงงานผลิตน้ำลีมอเนตนี้ต่อมามีผู้ตั้งขึ้นอีก๑ โรง เป็น ๒ โรง แต่อยู่ได้ไม่นานก็หยุดกิจการ แต่การผลิตต่อมาก็ต้องเลิกเพราะมีการผลิตน้ำอัดลมด้วยขวดชนิดมีฝาจีบ ซึ่งสะดวกกว่า เร็วกว่า แต่ต้องเริ่มลงทุนมากตลอดจนทุนจัดซื้อขวดใหม่ ตลาดก็ไม่ใหญ่พอ กิจการจึงต้องเลิกไป ในตลาดมีร้านขายอาหาร ก๋วยเตี๋ยว ร้านกาแฟ ร้านขายน้ำแข็งใส่น้ำหวาน หาบขายไอศครีม ซึ่งเรียกกันว่า ไอติม มีแม่ค้าขายขนมไทย เช่น ลอดช่อง ขาวข้าวแกง กล้วย อ้อย ถึงหน้ามะม่วงมีแม่ค้าข้าวเหนียวมะม่วง หน้าทุเรียน มีหาบแม่ค้าข้าวเหนียวน้ำกะทิทุเรียน หน้าหอยปากเป็ดมีหาบแม่ค้ายำหอยปากเป็ด ซึ่งไม่เคยพบที่ไหนทำได้เหมือน มีเต่าทะเลติดอวน มีคนทำแกงเต่าขาย ส่วนอาหารพิเศษ เช่น ห่อหมก และทอดมันปลานั้นมีแม่ค้าทำออกขายเป็นประจำ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ส่วนอุปโภค มีโรงจีนตีเหล็กอยู่ในซอยวัดตะเคียนและในตลาด มีร้ายตัดเสื้อผ้าทั้งของชายและหญิง มีร้านดัดผมหญิง มีร้านตัดผมชาย มีร้านค้าทำเครื่องทองรูปพรรณ มีวิกมีโรงยาฝิ่น | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โดยเฉพาะที่อยากจะให้ทราบ เพื่อเตือนใจกัน ในปีประมาณ พ . ศ . ๒๔๗๗ - ๒๔๗๘ มีชาวญี่ปุ่นชื่อที่เราเรียกกันว่า ตาเค ชื่อเต็มไม่มีใครรู้ มีเมียไทยชื่อ แม่วอน หรือวร มาตั้งร่านรับถ่ายรูปอยู่ที่ตลาดปากน้ำประแสและเป็นที่น่าสังเกตุแต่ไม่มีใครสังเกตสังวรณ์หรือคิดสงสัย คือ ตาเค ยินดีรับงานถ่ายรูปนอกสถานที่ยิ่งนัก รับไปถ่ายถึงบ้านถึงงาน ยิ่งเป็นการเดินทางไปตามชายหาดก็ยิ่งดี ต่อมาประมาณ ปี พ . ศ . ๒๔๘๒ – ๒๔๘๓ จึงได้ย้ายกลับกรุงเทพฯ แต่เมื่อกองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเมืองไทยเมื่อเดือนธันวาคม ๒๔๘๔นั้น ปรากฎว่า “ ตาเค ” ช่างช่างถ่ายรูปใจดีของชาวปากน้ำประแสและถิ่นใกล้เคียงคือ ร้อยโทอิเคดะ แห่งกองทัพญี่ปุ่น เป็นตัวแทนกองทัพที่เข้ามาหมกตัวเพื่อตรวจสอบเพื่อรู้สภาพสถานที่ การคมนาคมหรือที่อาศัยหรือหาประโยชน์ได้พร้อมกับทำแผนที่รายละเอียดไว้เพื่อประโยชน์ของกองทัพเมื่อเคลื่อนกำลังพลเข้ามา ขอให้สังวรณ์ไว้ การสืบความตื้นลึกหนาบางของชนชาติอื่นหรือชนชาติศัตรูหรือชาติที่อาจจะมีการปะทะกันนั้น ชาติที่เขาเจริญเขาทำกันล่วงหน้าเป็นสิบปี ยี่สิบปี ไม่ใช่ส่งคนมาทำลับๆ ล่อๆ วันสองวันแล้วก็กลับ แม้บัดนี้จะมีการถ่ายรูปจากดาวเทียม ถ่ายรูปจากเครื่องบินตรวจการชั้นสูงหรือตรวจการธรรมดาแล้วก็ตาม แต่การส่งคนเข้าไปตรวจสอบหรือการฝังตัวอยู่ในพื้นที่ก็ยัง เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีประโยชน์ยิ่ง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การค้าในสมัยนั้น ผู้ค้าถ้าจะให้สะดวกจะต้องมีชื่อยี่ห้อการค้า และเพื่อสะดวกแล้วจะต้องเป็นชื่อที่เป็นภาษาจีน ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าเป็นภาษาการค้า ทั้งนี้เพราะคนไทยไม่ใคร่มีใครค้า เฉพาะที่ตลาดปากน้ำประแส มีองค์กรกงสีของคนจีน ดำเนินการผูกขาดรับ - ส่งสินค้าระหว่างร้านค้ากับเรือสินค้าที่วิ่งรับส่งสินค้าประจำ มีศาลเจ้าโรงเจ มีการเรี่ยราย ทั้งต่อมามีการตั้งโรงเรียนสอนภาษาจีน แต่งตั้งอยู่ไม่นานก็เลิกล้มไป | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แต่อย่างไรก็ตาม ลูกของพ่อค้าคนจีน ที่มีแม่เป็นคนไทย หรือค่อนไทย ซึ่งถือว่าเป็นคนไทยโดยสัญชาติตามกฎหมาย และก็คงมีความคิดเป็นคนไทยที่แท้จริง ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพรับราชการ เท่าที่ทราบ มีคนหนึ่ง เป็นชาย เป็นถึงระดับอธิบดีกรม อีกคนหนึ่ง เป็นหญิง ปัจจุบันเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่ในภาคกลาง เป็นต้น และหรืออื่น ๆ ก็มี
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การรื่นเริง การมหรสพ ปากน้ำประแสมี โรงวิก ค่อนข้างทันสมัยในสมัยนั้น เป็นโรงใหญ่ ฝาไม้ด้านชั้นเดียว ด้านหน้า ๒ ชั้น หลังคาสังกะสี มีห้องขายตั๋ว มีห้องฉายภาพยนต์ มหรสพที่มีนาแสดงส่วนหลืบสองข้างมีห้องโถงกว้างหลังเวที ใช้ได้ทั้งเล่นละคร เล่นลิเก ลำตัด ฉายภาพยนต์ มหรสพที่มีนาแสดงส่วนมากลิเก และจะเป็นลิเกของแม่ส้มจีน จากทางท่าใหม่ จันทบุรี นาน ๆ ครั้งจะต้องเป็นลำตัดแม่จรูญ ส่วนภาพยนต์นาน ๆ ครั้ง เพราะที่ปากน้ำประแสยังไม่มีไฟฟ้า เมื่อมาฉายภาพยนต์ต้องมีเครื่องทำไฟมาด้วย ส่วนแสงสว่างในการแสดงลิเกหรือลำตัด ใช้ตะเกียงรียกว่าตะเกียงวอชิงตัน ใช้หลักการเดียวกับตะเกียงเจ้าพายุ แต่ตัวโคมไฟ โคมแก้วค่ำเอาหัวลง ส่วนที่บันจุน้ำมันและลมอยู่ข้างบน เวลาจุดแล้วแขวนจะไม่มีก้นตะเกียงบัง ส่วนลิเกอื่นๆ เช่นลิเกกำนันชิ่วบ้านนานั้น ได้เพียงแสดงในงานแก้บน งานกุศลเท่านั้น รวมทั้งหนังสด ละครชรตรีของซำหั้น ส่วนการรื่นเริงอื่นๆ ก็มีในโอกาสตรุษ เช่นตรุษจีน ตรุษไทย ตรุษสงกราน ซึ่งจะได้เล่าต่อไป การรื่นเริงอีกอย่างหนึ่งของผู้ชายเป็นส่วนใหญ่คือ การเล่นชนไก่ กัดปลา ทั้งปลาเข็มและปลาหัวเงิน ( กรุงเทพฯเรียกปลาหัวตะกั่ว ) รวมทั้งการไปเที่ยวตามงานวัดต่าง ๆ ในต่างตำบล บางทีก็ไปเที่ยวกันไกลๆ เช่นวัดจำรุง ด้านตะวันตกและวัดช้างข้ามทางทิศตะวันออก หรือพวกนักเลงไก่ เช่าเรือยนต์เหมาลำนำไก่ไปชนพนันถึงตัวจังหวัดจันทบุรี เป็นต้น
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วัฒนธรรมประเพณีในการทำบุญ เล่นนักขัตตฤกษ์ ขอเริ่มต้นที่ตรุษจีนก่อน เพราะทุกบ้านเกี่ยวข้องหมด แต่มิได้ไหว้เจ้าทุกบ้านทุกครอบครัว มีแต่ทำขนมเทียน ขนมมัดไต้ไปด้วย ขนมนั้นเอาไว้แจกเปลี่ยนกัน เอาไปทำบุญที่วัด แล้วก็ไปดินเลี้ยงที่บ้านคนจีน ครึ่งจีน เข้าทำนองตรุษใครไทยก็เมาเช่นนั้น สำหรับปากน้ำประแสที่เพิ่มก็มีการเชิดสิงห์โตไปตามบ้านต่างๆ ในตลาด ไม่เว้นไทยจีน สิงห์โตต้องได้รับเงินทุกบ้าน ส่วนการจุดประทัดให้นั้นไม่ทุกบ้านกับการเชิดสิงห์โตนี้พวกปากน้ำประแสมีเดินทางไปเชิดต่างบ้านไกลๆส่วนมากไปทางเรือใบเล็ก กับที่ประแสนั้นถ้าสิงห์โตเชิดมาเจอกันก็ต้องมีการเชิดสิงห์โตกัดกันบางทีก็ชกต่อยตีกันถ้าเป็นสิ่งต่างถิ่นหรือพวกที่ไม่ค่อยจะลงลอยกันมาก่อน นอกจากนั้นก็มีเงินแต๊ะเอีย เมื่อมีเงินก็ต้องมีการเล่นการพนันเป็นธรรมดา เรื่องการพนันจะเอาไว้ว่าในอีกส่วน . ส่วนตรุษ แขกตรุษฝรั่ง ยังไม่มีตลอดจนวันวาเลนไทม์ วันคริสต์มาศ มหหมัดเดย์ ก็ยังไม่มี | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กิจกรรมของคนไทย วันสารท มีการกวนกระยาสารท และไปทำบุญเท่านั้น ไม่มีกิจการรื่นเริงฉลองอะไรเป็นพิเศษ ตรุษไทยก็เช่นเดียวกัน คงมีแต่การไปทำบุญถวายอาหารพระที่วัดในตอนเช้าเท่านั้น การฉลอง อาจจะมีการตั้งวงไพ่ วงโปกันบ้างแต่ไม่เอิกเกริกนัก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ต่อมา ตรุษสงกรานต์ มีการทำบุญที่วัด ทำกัน ๒ หรือ ๓ วัน แล้วก็มีการทำบุญส่งกันเป็นระยะ สุดท้ายไปทำบุญส่งที่สันทรายปากแม่น้ำประแส เรียกหัวโขด ทำบุญแล้วก็มีการลอยเรือใบเล็ก ๆ ออกทะเลไปเป็นการส่งผีกลับบ้านหรืออย่างไรไม่รู้ แล้วก็เป็นอันจบการทำบุญ การรดน้ำ สาดน้ำนั้น เป็นที่ทราบแล้วว่าปากน้ำประแสเป็นหมู่บ้านกันดารน้ำ จึงไม่มีการสาดน้ำกันทั่วไป คงจะมีการสาดกันบ้างที่วัดเท่านั้น ในวันสงกรานต์ ที่บริเวณลานวัดตอนบ่าย จะมีการเล่นสนุกสนาน ช่วงรำ มอญซ่อนผ้า สะบ้า ทั้งสะบ้าทอยและสะบ้าล้อ เด็กๆ ก็ต้องเล่นต้องเต ตี่จับวิ่งแข่ง วิ่งสามขา วิ่งไถนา แย้ลงรู เป็นต้น ที่ขาดไม่ได้คือเหล้า แต่สมภารเห็นก็ไม่ใคร่ได้ถูกต่อว่าดุด่าอยู่เสมอแต่มีอยู่เป็นประจำ ส่วนสะบ้านั้น มีการจัดเล่นบริเวณที่มีลานที่อื่นด้วย เฉพาะสะบ้าล้อนั้น เด็ก ๆ กับสาว ๆ บางทีก็เล่นกันบริเวณถนนทางเดินหน้าบ้านนั้นเอง ส่วนที่ขาดไม่ได้เป็นอันขาด ทั้งตรุษจีน ตรุษไทย ตรุษสงกรานต์ คือการพนัน การพนันที่เล่นกันส่วนมาก ไพตองไทย ยี่อิด ผสมสิบ ต่อแต้ม โปปั่น โปกำหรือกำถั่วยังไม่นิยมกัน เต๋าทอดพอมีแต่เต๋าเขย่าเป็นไฮโลว์ ยังไม่มี แต่การเล่นที่เหมือนกันเรียกน้ำเต้าปูปลา คือมีลูก ๖ หน้าเหมือนลูกเต๋าแต่ใหญ่กว่า ขนาดประมาณ ๒ ซม . ครึ่ง เป็นไม่ทาสี มีรูป ปู ปลา กุ้ง กวาง น้ำเต้า เสือเหลือง การแทงเหมือนไฮโลว์ตามหน้า ที่ใส่มิใช่ถ้วยแต่ใช้กระดาษอย่างน้อยเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๐ ซม . ฝาครอบใช้ฝาชี การออกไม่เรียกเขย่า แต่เรียกว่า ผัดปูปลา นอกจากนี้ก็มีบ่อหุ้น ซึ่งเล่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อันเป็นที่มาของคำว่า อู้ไว้กินบ้อ กับหยอดหลุมด้วยสตางค์ วงค์แดงราคา ๑ สตางค์ในสมัยนั้น เล่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ของผู้ใหญ่นั้น หลุมเป็นหลุมเล็กๆ ฝังด้วยสตางค์ห้า กลบริม จะมีขนาดเหลือประมาณ ๑ ซม . เท่านั้น ระยะยืนโยนประมาณ ๓ เมตร สตางค์ที่โดยเคยเห็นตั้งยาวเกือบศอก คือถือไม้ได้ ต้องวางเรียงไว้บนไม้ผ่าซีกเป็นที่รอง แล้วจัดโยนสตางค์นั้นจากรางไม้ไผ่ไปที่หลุม สตางค์จะจับกันเป็นแถว มีแตกแถวออกไปน้อยที่สุด ถ้าลงตรงหลุมก็จะลงและเป็นแถวติดกันยาว น่าดู กับการเล่นไพ่โดยใช้ไพ่ป๊อกอีกอย่างที่เรียกว่า อัดเต เป็นการแจกไพ่คนละ ๖ ตัว ไพ่ ๔ ตัวเป็นไพ่ที่จะใช้ทิ้งชิงอำนาจที่จะออกไพ่ ๒ สุดท้าย การชนะกินนั้น มีชนะ ๑ ต่อ ๒ และ ๔ ต่อ ส่วนโป๊กเกอร์ไม่นิยม เผ กับหมาเก๊า ( คล้ายเก้าเก คือกินกันที่แต้มแต่ ๙ เท่านั้น ) ก็ไม่ค่อยนิยมกัน เด็กๆ ส่วนมากก็เล่น ปู ปลา ยี่อิด บ้อหุ้น หยอดหลุม กันเป็นพื้น และเล่นเป็นกันตั้งแต่เดินวิ่งแข็งโดยไม้ต้องมีโรงเรียนสอน สำหรับเซียน หรือที่เรียกว่าท่านผู้มีอาชีพเล่นการพนันนั้น ที่ประแสมีอยู่ ๒ – ๓ คน เล่นการพนันเลี้ยงชีพอย่างเดียวไม่เคยประกอบอาชีพอย่างอื่นเลย
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีทอดผ้าป่ากลางน้ำ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การจัดผ้ากลางน้ำมีมานานแล้ว ดูตามพฤติการณ์ที่พบเห็นเมื่อ พ . ศ . ๒๔๗๔ เป็นต้น ในขณะนั้น เรือพายที่มาร่วมงาน ร่วมแข่งเรือ มาจากเรือต่างๆที่ห่างไกลเช่นจากบ้านแหลมยาง ทะเลน้อย ดอนกอกล่าง ท่ากง พังราดไทย ปากน้ำพังราด เนินฆ้อ เป็นต้น ชาวบ้านและเรือพายเหล่านี้มาร่วมเพื่อการกุศลเป็นหลัก และสนุกด้วย สุดท้ายตอนเย็นได้รางวัล เป็นผ้าขาวม้าสักผืน ๒ ผืน ผ้าผูกหัวเรือสักผืนน้ำมันก๊าดสักปีป ๒ ปีปก็เป็นที่พอใจอย่างยิ่ง เป็นที่สนุกสนาน เพราะข้าวปลาอาหารนั้นมีเลี้ยงดูกันทั้งข้าวทั้งผลไม้ตามฤดูพออิ่มสบาย ส่วนเรือองค์ผ้าป่านั้น ในสมัยนั้นบางครั้งก็มีเล่นพายชิงลากเรือองค์ผ้าป่าขึ้นไปต้นน้ำ ลากลงมาตามน้ำส่วนผ้าป่านั้นมิได้จัดถวายวัดใดโดยเฉพาะส่วนมากก็ถวายแจกจ่ายกันไปทั่วๆ สำหรับหมู่บ้านที่มาร่วมงาน พอเย็นก็เลิกเรือทุกลำกลับบ้าน ไปบำเพ็ญบุญเอาของรางวัลไปถวายวัด และลอยกระทงกันต่อไป ทำติดต่อกันมา สอบถามท่านผู้มีอายุในสมัยนั้น ท่านก็ว่าทำกันมาก่อนแล้ว คงจะเป็นพิธีการทางศาสนาเพื่อรวมคนเป็นสามัคคีมาตั้งแต่สมัยเป็นที่ตั้งเมืองแกลง ประกอบกับสภาพแม่น้ำเป็นส่วนประกอบที่เหมาะในการจัดงานด้วย การแข่งเรือก็เป็นการแข่งขันกันเพื่อสนุกสนานเท่านั้น มิได้ถือเอาเป็นเคร่งครัดจริงจังมากนัก รางวัลก็มิใช่รางวัลพิเศษเป็นถ้วยเงินขันน้ำพานรองอะไร รางวัลส่วนมากจะเป็นผ้าขาวม้าบ้าง ผ้าขาวบางบ้างผ้าแพรผูกหัวเรือบ้าง น้ำมันก๊าซ ตะเกียง บ้างสิ่งของบ้างเท่านั้น โดยเฉพาะน้ำมันก๊าซ นั้นเป็นที่ต้องการมาก เพราะตามวัดเวลามีงานต้องใช้จุดตะเกียงเจ้าพายุที่สว่างมาก และได้บริเวณกว้าง กับแม้ตะเกียงโคมรั้วซึ่งจุดกันลมได้ก็ต้องใช้ กับตะเกียงลานซึ่งใช้ได้ทั้งให้แสงสว่างและเป็นที่ต้มน้ำร้อนกาเล็กๆ สำหรับชงน้ำชาจีนของท่านสมภารเจ้าวัดก็ต้องใช้น้ำมันก๊าด | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีการแข่งขันเรือยาว ( เรือพาย ) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิธีการจัดการแข่งขัน จัดโดยคณะกรรมการจัดงานผ้าป่ากลางน้ำ จะมีเรือจากหมู่บ้านและตำบลใกล้เคียงมาร่วมแข่งขัน บางปีจะมีเรือยาวจากจังหวัดจันทบุรี เข้าร่วมแข่งขันด้วย เรือยาวที่เข้าร่วมแข่งขันจะเป็นเรือประจำของวัดต่าง ๆ ในตำบลนั้น และต่างตำบล บางลำเป็นเรือของชาวบ้าน โดยเริ่มงานตั้งแต่เวลา๐๙.๐๐น . จะมีเรือเข้าแข่งขันหลายขนาด เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง จำนวนผู้พายจัดจำนวนขนาดพอเหมาะกับขนาดของเรือ เรือแข่งนี้จะจัดตกแต่งให้สวยงามทั้งลำเรือ และคนพาย เรือบางลำมีผีพายเป็นชายล้วน บางลำก็เป็นหญิงทั้งหมด บางลำมีทั้งชายและหญิง ผีพายมีทั้งคนหนุ่มสาวและแก่ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การแข่งขันจะเริ่มด้วยการเปรียบเทียบจำนวนคนพายเท่า ๆ กัน หรืออาจจะมากกว่ากันเล็กน้อยเมื่อแจ้งคณะกรรมการที่ได้ทำการแข่งขันแล้ว เรือเหล่านั้นจะพายเล่นไปตามลำแม่น้ำเพื่อให้ประชาชน ได้ชมและเพื่อความสนุกสนานของผีพายในเรือนั้น เรือที่จะเข้าแข่งขันจะมีทั้งประเภทสวยงาม ประเภทตกแต่งตลกขบขัน และประเภทแข่งผีพายธรรมดา เรือแต่ละลำจะมีการร้องรำทำแพลงกันอย่างครึกครื้น บ้างพายไปมา บางลำก็จอดอยู่กับที่ จะมีห่อข้าว ขนมและเครื่องดื่มแจกให้คนพายทุกคนจากคณะกรรมการจัดงาน และมีผู้ใจบุญนำมาให้ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การประกวดเรือประเภทสวยงามและประเภทความคิดจะประกวดในภาคเช้า หลังจากรับประทานอาหารตอนกลางวันแล้ว เริ่มแข่งขันเรือพายคือเวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น . จะแข่งคราวละ ๓ – ๔ ลำ ตามจำนวนเรือที่เข้าแข่งขันและจำนวนผีพาย เมื่อได้เรือชนะที่ ๑ แล้ว จะให้เรือที่ชนะรอบแรก ได้เข้าแข่งขัน ในรอบชนะเลิศอีกครั้ง ในการแข่งขัน จะมีของรางวัลให้แก่เรือที่เข้าประกวดและแข่งขันทุกลำ เรือที่ชนะเลิศจะได้รับของรางวัลมากเป็นพิเศษ ส่วนมากของรางวัล เมื่อเรือแต่ละลำได้รับแล้วจะนำไปถวายวัด | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นอกจากการแข่งขันเรือพายแล้งยังมีการประกวดเทพีนาวา โดยจัดหาคนสวยที่นั่งในเรือแข่งมาประกวด จะประกวดหลังจากแข่งเรือแล้ว หลังงานเสร็จสิ้นลงในเวลาประมาณ ๑๘.๐๐น . ผู้ชมงาน ชมเรือจะได้นั่งเรือบริการฟรีของชาวประมงประแสร์ซึ่งเสียสละบริการรับส่งให้ชมตลอดงาน มีผู้มาชมงานปีละมาก ๆ ทั้งคนในตำบล ต่างตำบล และต่างจังหวัด | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีทอดผ้าป่ากลางน้ำ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีการทำบุญทอดผ้าป่ากลางน้ำในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของชาวบ้านปากน้ำประแสร์ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ได้สืบทอดประเพณีกันมาประมาณร้อยกว่าปีมาแล้วโดยเล่าสืบต่อกันมาว่า ได้มีคณะกรรมการจัดทอดป่ากลางน้ำ รวม ๕ คน คือ หมื่นพรเจริญพงษ์ ( หุน เจริญ ) ขุนมุข ประแสร์ชล ( บุญ การดี ) เป็นกำนันในขณะนั้น ขุนประเสริฐ ( นำยม บุญยั่งยืน ) นาย บุญรอด ศิลปทอง นายถุงใหญ่ พูลศิลป์ และมีพ่อจรอง วานิชรัตน์ เป็นคนรับใช้ตัดไม้มาทำพุ่มผ้าป่า พร้อมด้วยเพื่อน ๆ รุ่นราวคราวเดียวกันหลายคนช่วยกันจัดทำกิจกรรมมีการแข่งเรือพาย แข่ง ว่ายน้ำ แข่งพายกะโล แข่งเรือพายข้ามไม้ไผ่ลอยน้ำ
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พ่อประเสริญ ปรีชา ( เกิดราว พ . ศ . ๒๔๗๔ ) ได้เล่าว่าไปดูเขาแข่งเรือ ว่ายน้ำ และอื่น ๆ อีกฯ การจัดทำผ้าป่ากลางน้ำชาวบ้านปากน้ำประแส ได้หยุดไประยะหนึ่ง เนื่องจากเกิดสงครามอินโดจีน พ . ศ . ๒๔๘๔ เพราะทางราชการสั่งให้หยุดจัดทำกัน หยุดประมาณ ๔ ปี เมื่อสงครามเลิกแล้วจัดทำกันอีกเมื่อ พ . ศ . ๒๔๘๗ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พ่อลี้ เจโตวิบูลย์ ( เกิดประมาณ พ . ศ . ๒๔๘๙ ) ได้เล่าว่ามีพระชื่อ สงกรานต์ มาอุปสมบทอยู่ที่วัดสมมติเทพฐาปนาราม ได้เป็นผู้ฟื้นฟูประเพณีการทำบุญทอดผ้าป่ากลางน้ำขึ้นอีก เพื่อรักษาประเพณีไว้มาจนทุกวันนี้ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระครูประภัทรวิริยคุณ ซึ่งเป็นผู้เขียนได้เล่าว่า ตนเองเคยอยู่วัดพลงช้างเผือก เมื่อ พ . ศ . ๒๕๐๒ มีชาวแหลมยางชื่อพ่อแดง มาเยี่ยมท่านพ่อกูลที่วัดพลงช้างเผือก เล่าให้ฟังว่าท่านพ่อกูลอายุอ่อนกว่าประมาณ ๒- ๓ ปี ท่าน เกิด ร . ศ . ๑๐๘ ( พ . ศ . ๒๔๓๒ ) อายุพ่อแดงประมาณ ๑๕ – ๑๖ ปี ในขณะนั้นว่าเมื่อสมัยเป็นเด็กอยู่ที่วัดโพธิ์ทอง เมื่อ ร . ศ . ๑๑๙ – ๑๒๑ ( พ . ศ . ๒๔๔๓ – ๒๔๔๕ ) เพื่อเรียนหนังสือกับครูไพบูลย์ เป็นผู้สอนในขณะนั้นท่านพ่อพัด ( พระสมุห์พัด ) เป็นเจ้าอาวาส มีเด็กวัดหลายคนคิดจะไปเที่ยงงานประเพณีทอดผ้าป่ากลางน้ำและแข่งเรือที่ปากน้ำประแส พอถึงเดือน ๑๒ เด็กวัดดังกล่าวเตรียมหาไม้พาย เพื่อนำเรือไปร่วมแข่งขันในงานนี้ด้วย ( วัดโพธิ์ทองอยู่ติดกับลำคลองวัดนี้อยู่ใกล้กับตัวอำเภอเรียกเมืองแกลง ) ท่านพ่อพัดทราบพฤติกรรมของเด็กวัดแต่ นิ่งเสียพอถึงกำหนด วันเพ็ญเดือน ๑๒ ได้เรียกเด็กวัดประชุม กล่าวกับเด็กวัดว่า วันนี้เป็นประเพณีทอดผ้าป่ากลางน้ำของชาวประแส และมีการแข่งขันเรือกันที่วัดมีเรือแต่ไม่มีพาย เด็กวัดทั้งหลายเข้าใจว่าท่านพ่อคงอนุญาตให้ไป จึงตอบรับว่า “ มีขอรับ “ ท่านพ่อจึงให้ไปนำพายมาแล้วใช้เด็กวัดนั่งบนหอฉัน หอฉันนั้นมี ๒ ลด นั่งทับเท้าข้างหนึ่ง นั่งห้อยเท้าข้างหนึ่ง แล้วทำท่าพายเรือกับให้ส่งเสียงร้องพร้อมๆกันว่า “ ฮุย เล ฮุย “ ดังนี้เป็นเวลาประมาณครึ่งวัน และไม่อนุญาตให้ไป การเอาประวัติของหลวงพ่อพระมหุห์พัดมากล่าวนี้ มิได้มีเจตนาจะให้เสื่อมเสียชื่อเสียงแต่ประการใด เพื่อต้องการเอามาประกอบทำประวัติผ้าป่ากลางน้ำ ให้มีหลักฐานมั่นคงเท่านั้น | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฉะนั้น ประเพณีทำบุญทอดผ้าป่ากลางน้ำของชาวประแสนี้ ตามหลักฐานที่กล่าวมานี้ คิดว่าทำกันมาไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ปี มีวิวัฒนาการเรื่อย ๆ มาตามที่คณะกรรมการผู้จัดการจะเห็นสมควรจึงประมวลวิธีว่ามีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับดังนี้
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑. ชาวบ้านช่วยกันจัดเรือผ้าป่าตกแต่งประดับประดาให้สวยงามไปลอยอยู่ในคลอง แม่น้ำประแสร์ประมาณ ๕ โมงเย็น อาราธนาพระไปลงเรือ พิจารณาผ้าป่ากลางน้ำ
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๒. คณะกรรมการเห็นความลำบากของพระ ได้จัดเรือผ้าป่าไว้ที่ท่าน้ำโป๊ะจ้าย และ อาราธนาพระลงไปพิจารณาในเรือที่ท่านั้น และปีต่อมาประชาชนมีศรัทธามากขึ้น จึงจัดเป็นพุ่ม ไปปักไว้ริมท่าหรือริมคลองแม่น้ำประแสร์ใกล้บ้านของตนแล้วอาราธนาพระไปพิจารณา ฯ
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๓. ต่อมาคณะกรรมการเห็นว่าควรจะรักษาประเพณีเดิมไว้ จึงจัดเรือผ้าป่าลอยลำ ไว้ในคลองแม่น้ำประแสอีกฯ
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๔. มายุคกลาง ๆ จัดทำพุ่มผ้าป่าไว้หน้าบ้านของผู้มีจิตศรัทธา นิมนต์พระหลายวัด ไปจับเบอร์ ที่วัดตะเคียนงาม พระเดินไปหาเบอร์ตามบ้านให้ตรงกับเบอร์ที่พระถือ พระที่มาจากวัดต่าง ๆ เดินหาไม่พบ จนถึงเวลาประมาณ ๒๑.๐๐ – ๒๒.๐๐ น. เป็นเหตุให้ชาวบ้านที่จะไปเที่ยวงาน หรือเตรียมตัวไปลอยกระทงต้องลำบาก ภายหลังต้องบอกเบอร์ให้พระรู้
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๕. ยุคหลังสุดนิมนต์พระมาประมาณ ๑๐๐ รูป จัดทำผ้าป่านำเรือผ้าป่าไปลอยลำไว้ใน แม่น้ำประแสร์ ๑ ลำ อาราธนาพระสงฆ์ประมาณ ๕ - ๑๐ รูป ไปฉันเพลในเรือเพื่อรักษาประเพณี และให้อนุชนรุ่นหลังได้รู้ได้เห็นพิธีต่าง ๆ ว่าในสมัยก่อนทำอย่างนี้ พระที่เหลืออีก ๑๐๐ รูป เวลา ๑๘.๐๐ น . ( ๖ โมงเย็น ) ไปจับเบอร์ที่วัดตะเคียนงาม แล้วเดินหาพุ่มตามบ้านให้ตรงกับเบอร์ที่จับได้
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การเล่นในช่วงกลางวัน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑) ในสมัยแรก ๆ มีการแข่งขันเรือพาย และการว่ายน้ำแข่งกันเท่านั้น ฯ
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๒) ในสมัยกลาง ๆ มีการแข่งขันเรือพาย การแข่งขันว่ายน้ำ การแจวเรือข้ามไม้ไผ่ และ การนั่งกะโล่พายแข่งกัน มวยทะเล แถกกระดี่ ดำน้ำแข่งกัน และนำเอาลิเกไปเล่นในเรือ
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๓) ในสมัยปัจจุบัน มีการแข่งขันเรือพาย แข่งเรือเร็ว ดำน้ำแข่งกัน การประกวดเรือพาย ประเภทสวยงาม ประกวดเทพีนาวาชักเย่อบนบก มีการจัดแต่งเรือประมง พร้อมผู้แต่งแฟนซีประกวดกัน การประกวดร้องเพลง และมีแมวมองสาว ๆ ที่มาชมงานเป็นเทพี
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีลงแขก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีการลงแขก คือการไปแขกคนโน้น ไปแขกคนนี้ เป็นการช่วยกันทำงานโดยวิธีผลัดเปลี่ยนกันเป็นบ้าน ๆ ไป ประเพณีนี้ชาว อำเภอแกลง และอำเภออื่น ๆ ในจังหวัดระยอง ปฏิบัติกันมานาน เป็นการรวมพลังเชื่อมความสามัคคีกันด้วยเพราะบางบ้านบางคนไม่มีงานที่จะนัดลงแขก แต่ก็เมื่อ รู้ว่าเพื่อนบ้านบ้านหนึ่งบ้านใด นัดมีแขกหรือลงแขกก็ไปแขกนั้น เป็นการช่วยเหลือเพื่อนบ้านด้วยกัน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การลงแขกดังกล่าวนั้น เท่าที่ผู้เขียนเคยไปแขกก็มีไปแขกเกี่ยวข้าว ไปแขกลากลาน ไปแขกนวดข้าว และไปแขกปลูกบ้าน การไปแขกนั้นเจ้าภาพหือที่เรียกว่า “ เจ้าของแขก ” จะกำหนดวันให้ชาวบ้านเพื่อนฝูงในหมู่บ้านนั้นทราบ เช่น นาย ก . กำหนดมีแขกหรือลงแขกเกี่ยวข้าว ในวันที่ ๒๐ ธันวาคม หรือกำหนดเป็นวันทางจันทรคติ เช่น กำหนดเดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ ชาวบ้านที่ทราบกำหนดดังกล่าวและข้าว ในนาของตนยังไม่สุกกรอบ ก็ไปร่วมลงแขกเกี่ยวข้าวบ้านนาย ก . ก่อน ซึ่งชาวบ้านจะเรียกว่า “ ไปแขก ” ไป ๑ คน เรียกว่า ๑ แรง ไป ๒ คน เรียกว่า ๒ แรง ต่อไปเมื่อเราลงแขก หรือมีแขกเมื่อใด นาย ก . ก็จะมาช่วยเราบ้าง ถ้าติด ๒ แรง ก็จะมาช่วย ๒ คน เรียกกันว่ามาใช้ ๒ แรง ไม่ให้เสียเปรียบซึ่งกันและกัน การมีแขกหรือลงแขกจะทำงานได้มากตามวัตถุประสงค์สนุกสนาน และได้งานเป็นที่พอใจด้วย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีการแห่นางแมว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การแห่นางแมว เป็นพิธีขอฝนของชาวบ้าน เมื่อเห็นว่าฝนไม่ตกต้องตามฤดูฝนซึ่งฝนควรจะตกเมื่อฝนแล้งชาวนาชาวสวนลำบาก เพราะขาดน้ำนอกจากจะมีพิธีทำบุญกลางทุ่งเพื่อขอฝนแล้วยังมีประเพณีแห่นางแมวกันอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่าสามารถจะทำให้ฝนตก ชาวเกษตรจะได้เป็นสุขขึ้น ประเพณีแห่นางแมวนี้ในจังหวัดระยองนี้มีทำกันทั่วๆไป ที่พบเห็นในปัจจุบันในตำบลตาขัน อำเภอบ้านค่าย ตำบลเชิงเนิน ตำบลตะพง อำเภอเมืองระยอง อำเภอแกลง
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อุปกรณ์การเล่น
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑. นางแมว ๑ ตัว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๒ . กรง กระชัง ชะลอม ข้องใส่ปลา อย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับใส่นางแมว
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๓ . ไม่สอดหามนางแมว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๔ . เครื่องทำจังหวะสำหรับคณะแห่นางแมว มีฉิ่งกรับฆ้องโหม่ง
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้เล่น ชาวบ้านทั้งหญิง ชาย ไม่เลือกวัย
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พิธีแห่นางแมว
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เมื่อชาวบ้านปรึกษาหารือกันตกลงว่าจะจัดแห่นางแมวเพื่อขอฝน ก็จะหาแมวตัวเมียตัวหนึ่งใส่กรง หรือใส่กระชังสำหรับขังปลา หรือภาชนะอื่นๆ ที่เห็นว่าเหมาะสมปิดฝาให้แน่น ไม่ไห้นางแมวกระโดด หรือวิ่งอกไปได้ การแห่นิยมในตอนค่ำ หรือไม่ก็ตอนเช้า ใช้ไม้คานหามนางแมวนั้น คณะที่ไปร่วมขบวนแห่ก็แวดล้อมนางแมว มีคนหนึ่งถือพานเครื่องไหว้เครื่องบูชา และเป็นที่ใส่ปัจจัยที่ชาวบ้านมอบให้ด้วยก็ได้ เป็นผู้นำร้องเชิญคำขอฝน คณะที่ร่วมขบวนแห่ก็มีเครื่องทำจังหวะต่าง ๆ ติดไปด้วย เช่น ฉิ่งฉาบกรรับโหม่ง
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะพร้อมแล้ว ขบวนแห่ก็เริ่มออกเดิน และร้องบทแห่นางแมว และให้จังหวะดูเป็นการสนุกสนานไปด้วยเรื่องของคำร้องนี้แต่ละตำบลแต่ละท้องถิ่นดูจะผิดเพี้ยนกันไปบ้าง แต่ก็มีความหมายทำนองเดียวกัน และบางทีก็ร้องดันไปตามถนัด ผู้ติดตามก็ร้องรับ หรือร้องคล้อยตามกันไปเป็นที่สนุกสนาน
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิธีแห่ก็แห่กันไปทุกๆ บ้านตามหมู่บ้านของตน หรือหมู่บ้านใกล้เคียง ตั้งแต่หัวบ้านจดท้ายบ้าน เมื่อขบวนแห่ไปถึงบ้านใคร เจ้าของบ้านหรือลูกหลานจะออกมาต้อนรับ เอาน้ำสาดตัวนางแมว และมีของรางวัลมามอบให้คณะแห่นางแมวด้วย เช่น เหล้า ข้าวสาร มะพร้าว หรือปัจจัย แล้วแต่เจ้าของบ้านจะจัดให้ไม่บังคับ เมื่อแห่ไปครบบ้านในละแวกนั้นแล้ว คณะมักจะจัดทำข้าวต้ม ข้าวมันรับประทานกัน และจะรวบรวมปัจจัยและสิ่งของที่ชาวบ้านให้ จัดเป็นผ้าป่าไปทอดที่วัด หรือไม่ก็นำถวายวัด ถวายพระ เพื่อเป็นการกุศลอีกทอดหนึ่ง
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เนื้อร้องแห่นางแมว
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่นำมาลงพิมพ์นี้เป็นบทร้องที่ได้จาก นายเฉลิม มณีแสง อยู่บ้านดอน ตำบลเชิงเนิน อำเภอเมืองระยอง
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีปักเฉลว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีปักเฉลวนั้นทำกันในหมู่ชาวนา เพราะเป็นการบูชาแม่โพสพเวลาต้นข้าวตั้งท้อง ปัจจุบันในจังหวัดระยองังมีการทำทั่วไป | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อุปกรณ์ในการทำและปักเฉลว
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑. ตอกสำหรับสานเฉลว
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เฉลว ( ฉะ – เหลว ) ตามความหมายคือ เครื่องทำด้วยตอก หักขัดกันเป็นมุม ๆ ตั้งแต่ห้ามุมขึ้นไป ( ลักษณะตามชะลอม ) เช่นเดียวกับกับเฉลวปักหม้อยาต้มสมัยโบราณ แต่เฉลวของชาวนาตามประเพณีที่กล่าวเป็นเฉลวขนาดใหญ่ กว้างประมาณ ๒๐ นิ้ว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๒. ยอดไม้ไผ่ หรือทางระกำยาวประมาณ ๒ เมตร ตัดกิ่งหรือใบออก เกลาให้สวยเหลือใบตอนยอดไว้เล็กน้อย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๓. หมากพลู ๑ คำ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๔. ขมิ้น ดินสอพอง แป้ง
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๕. ข้าวกระยาสารท ดินเหนียว เมี่ยง มะขาม กล้วย อ้อย ส้ม
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๖. ด้ายยาว ๓ เส้น สำหรับรัดต้นข้าว ๓ กอ
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๗. เงินไม่จำกัดจำนวน
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กำหนดเวลาปักเฉลว ถึงเดือนสิบสิ้นเป็นวันสารท ชาวบ้านจะทำกระยาสารทนำไปทำบุญที่วัด และเลี้ยงลูกหลานเป็นประเพณีดั้งเดิมของไทย และในช่วงเดือนสิบสิ้นเดือนสิบเอ็ดกลางเดือนจะเป็นช่วงที่ชาวนาจะปักเฉลว และต้องนำไปปักในวันศุกร์ที่นาแปลงใดแปลงหนึ่งของตน
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คำกล่าวในการปักเฉลว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แม่โพศรีโพสพ แม่นพดารา แม่จันทร์นารี แม่ศรีสุชาดา มาเถิดแม่มา มาเถิดนะแม่มา ขวัญเอย ขวัญเอย
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีการทำขวัญข้าว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การทำขวัญข้าวในจังหวัดระยองนั้น จัดทำกันในหมู่ของชาวนาทั่วไป เพื่อขออภัยและเรียกขวัญแม่โพสพ เป็นสิริมงคลดลบันดาลให้มั่งมียิ่งขึ้น ปกติจะทำกันในวันศุกร์เพราะถือว่าเป็นวันขวัญข้าว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การทำพิธี ต้องทำบายศรี ส่วนมากใช้บายศรีปากชาม มีไข่ต้มปักยอดบายศรีพร้อมเครื่องบูชา คือ ดอกไม้ธูปเทียนเหมือนกับการทำขวัญอื่นๆ ทำขนมต้มขาว ต้มแดงหรือขนมอื่น ๆ ส่วนมากชาวบ้านมักทำกันเอง เช่น แกงบวดมันเผือก แกงบวดฝักทอง มีขันน้ำพระพุทธมนต์ จัดปูเสื่อบนข้าวในยุ้งฉาง วางสิ่งของที่เตรียมไว้เหล่านี้ ธงข้าวตักที่เก็บมาปักไว้ข้างหน้าใกล้ๆ สำรับขนมนั้น ส่วนกระทงเล็กปักธูปนำไปวางไว้ ทั้ง ๔ ทิศ ของยุ้งข้าว หมอขวัญกล่าวชุมนุมเทวดา ทำน้ำมนต์โดยกล่าวทำขวัญเป็นทำนองแหล่ใจความขั้นตอนในการทำนา ตั้งแต่ต้นจนเสร็จเข้ายุ้งฉาง และระลึกถึงคุณของข้าว และแม่โพสพ คำกล่าวคำขวัญจะมี ๓ ตอน เมื่อหมอขวัญกล่าวจบแต่ละตอน ลูกหลานซึ่งคอยเฝ้าอยู่หน้ายุ้งฉางก็โห่รับ ๓ ครั้ง เมื่อเสร็จพิธีแล้วนำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมข้าวในยุ้ง รอบ ๆยุ้ง และนำประพรม วัว ควาย ตลอดจนเครื่องมือทำนา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การทำบุญลาน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ในวันเจริญพระพุทธมนต์เย็นนั้น ชาวบ้านจะนิยมทำข้าวหลาม ( เผาข้าวหลาม ) เพราะข้าวหลามนั้นเป็นข้าวใหม่ แต่ละบ้านจะเผากันเป็นหาบ เพราะถือว่าทำแจกจ่ายพี่น้องลูกหลานด้วยและก็นำไปทำบุญลานด้วย ทำบุญแต่ละครั้งจะได้ข้าวหลามไปเลี้ยงพระเณรและศิษย์วัดเป็นหาบ ๆ ในวันสวดมนต์เย็นนี้ บางแห่งก็จะมีการเล่นท้องถิ่น เช่น รำโทน หรือรำวง ลิเก ภาพยนต์บ้างก็มีบางแห่งก็มีจุดพลุตะไล ไฟพะเนียง เป็นการ สนุกสนานหลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการทำนามาแล้ว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นอกจากการเผาข้าวหลามแล้ว ยังทำบุญด้วยข้าวเปลือก บางทีก็เรียกว่า รวมกันก่อเจดีย์ข้าวเปลือกนำถวายวัด ทั้งนี้ถือกันว่าเป็นการระลึกถึงและบูชาพระคุณแม่โพสพ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พิธีตอนเช้าชาวบ้านก็จะนำสำรับกับข้าว พร้อมข้าวหลาม ข้าวเปลือกถวายพระเมื่อพระฉันเสร็จ เรียบร้อย ก็มีการรับพรกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลถึงผู้มีพระคุณ และญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว ตลอดทั้งพระคุณแม่โพสพ และสรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นอันเสร็จพิธี | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การทำบุญกลางทุ่งเพื่อขอฝน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีจากบรรพบุรุษสืบทอดมา ถือกันว่าถ้าปี ใดฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล พื้นดินไร่นาแห้งแล้ง ประกอบอาชีพทางเกษตรไม่ได้ เพราะเทวดาฟ้าดินไม่บันดาลให้ฝนตก ชาวบ้านเกิดความเดือดร้อน ก็ตกลงกันจะทำบุญเพื่อฝนจะได้ตกให้ทำนาทำสวนได้พืชผักจะได้ผล เมื่อในหมู่บ้านปรึกษาหารือตกลงกันแล้วก็จะพิจารณาสถานที่ที่เห็นว่าเหมาะสมชาวบ้านไปมาสะดวก และเป็นศูนย์กลางของชุมชน และนิยมชายทุ่ง ชายคลอง และมีที่อาศัยร่มได้บ้าง
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เมื่อเลือกสถานที่ได้เหมาะสมแล้ว จะทำพิธีเล็กน้อยคือ เอาดินเหนียวมาปั้นเป็นรูปปลาช่อน ๒ ตัว แล้วเอาวางไว้ในบ่อน้ำ หรือแอ่งน้ำตื้นที่ขุดขึ้นใกล้ ๆ ที่นั้น ปลูกศาลเพียงตาและมีปักฉัตรด้วย แต่บางแห่งก็ตัดพิธีนี้ออกไป จัดเหมือนทำบุญธรรมดา นิมนต์พระสวดมนต์เย็นต้องมีบทขอฝน อย่างที่ชาวบ้านเรียกว่า “ คาถาปลาช่อน ” ขึ้นต้นเป็นภาษาบาลีว่า “ สุภูโต มหาเถโร มหากาโย ทีฆะวณโณ ” ….. ฯลฯ รุ่งเช้าชาวบ้านนำสำรับกับข้าวมาถวายพระ เมื่อพระฉันเสร็จก็จะให้พร ( ยถาสัพพี ) และจะสวดมนต์ถาคาขอฝนอีก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีที่เกี่ยวกับการขอฝนอีกอย่างหนึ่งคือ การแห่นางแมว บางทีชาวบ้านก็จัดแห่นางแมวในโอกาสนี้ และข้าวของเผือกมัน ข้าวสาร มะพร้าว ที่ชาวบ้านให้มาก็ถือโอกาสทำบุญทอดผ้าป่าด้วย
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีลอยกระทง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านาน ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งจะได้ยินชื่อนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ผู้จัดกระทงถวาย ณ กาลครั้งนั้น และก็ได้ยึดถือกระทำมาจนถึงปัจจุบัน แต่ก็มีความแตกต่างออกไปบ้างตามความเชื่อถือของแต่ละท้องถิ่น
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การจัดกิจกรรมหรือประเพณีลอยกระทงนี้ จัดทุกภาคของประเทศไทย แต่มีความแตกต่างกันออกไปบ้าง ตามความเชื่อถือของแต่ละภาคหรือแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆ
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
งานลอยกระทงนิยมจัดทำในเวลากลางคืนเดือนสิบสอง คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ในกรุงเทพ ฯ ภาคกลาง และทางภาคใต้ จะปฏิบัติเช่นเดียวกัน นอกจากว่าจะจัดงานกันใหญ่โตเพียงใดหรือไม่
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
งานลอยกระทงภาคเหนือ จะเรียกประเพณีลอยกระทงว่า “ ยี่เป็ง ” แปลเป็นไทยก็คือ วันเพ็ญเดือนยี่ หรือวันเพ็ญเดือนสิบสอง ที่ชาวภาคเหนือเรียกเช่นนี้ เพราะเขานับทางจันทรคติเร็วกว่าทางภาคกลาง ๒ เดือน วันเพ็ญเดือนสิบสองของภาคเหนือ จึงกลายเป็นวัด “ ยี่เป็ง “ ซึ่งก็เป็นงานลอยกระทงเช่นกัน
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาคอีสาน ก็มีการลอยกระทงเหมือนกัน แต่มักจะลอยในวันเพ็ญเดือน ๑๑ ก่อน งานออกพรรษา๑ วัน ในวันนี้ จะจัดงานใหญ่กว่าวันเพ็ญเดือน ๑๒ ซึ่งเป็นการลอยกระทงกันอีกครั้งหนึ่ง งานก่อนวันออกพรรษาที่ว่านั้น จะจัดแข่งเรือการถวายประสาทผึ้งบูชาพระธาตุ กลางคืนมีงานลอยกระทงหรือที่เรียกว่า “ พิธีปล่อยเรือไฟ “
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จุดประสงค์ของการลอยกระทง มีความเชื่อทั้งด้านศาสนาพราหมณ์และความเชื่อทางศาสนาพุทธ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทางด้านศาสนาพราหมณ์ เชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการบูชาพระแม่คงคา ซึ่งเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ของอินเดีย ซึ่งชาวอินเดียถือว่าใครได้อาบน้ำชำระร่างกายแล้ว เท่ากับเป็นการชำระบาปหรืออีกนัยหนึ่งก็ว่า ลอยกระทงเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าของศาสนาพราหมณ์คือ พระนารายณ์ที่บรรทมสินธุ์อยู่ท่ามกลางมหาสมุทร
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ด้านศาสนาพุทธ มีความเชื่อกันหลายอย่างเช่น จัดพิธีเพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า เมื่อวันเสด็จจากเทวโลก ภายหลังทรงเทศนาโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หรือไม่ก็เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ตามตำนานที่กล่าวว่าเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จออกมหาภิเนากรรม ได้ตัดพระเกศาโยนขึ้นลอยสู่บนสวรรค์ และพระอินทร์ได้เสด็จมารับใส่ผอบบรรจุไว้ในจุฬามณีเจดีย์ ซึ่งเทวดาตลอดจนพระศรีอาริยเมตตรัยโพธิสัตย์เคยเสด็จมาไหว้ การลอยกระทงบูชาจึงเป็นการจงใจไหว้พระศรีอาริย์ไปด้วย
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บางแห่งบางท่านก็เชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ทรงประทับไว้ ณ หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำนัมทานที เมื่อครั้งพระพุทธองค์เสด็จไปแสดงธรรมในนาคพิภพ และพญานาคได้ทูลขอให้พระองค์ไว้เพื่อเป็นอนุสาวรีย์ไว้กราบไหว้บูชา
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แต่ความคิดทั่วๆ ไปในปัจจุบันนี้ บ้างก็มีความคิดว่า การลอยกระทงเพื่อเป็นการอธิษฐานหรือเสี่ยงโชค หรือไม่ก็เพื่อสารภาพผิดเพื่อเป็นการล้างบาปกรรมที่ได้กระทำมาไม่ดี ไม่งามในรอบปี ให้หายไปหรือล่องลอยไปตามกระแสน้ำ บ้างก็ลอยกระทงเพื่อบูชาหรือขอบคุณพระแม่คงคาหรือแม่น้ำมหาสมุทร ที่ให้คุณประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งรวมทั้งมนุษย์ด้วย
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การลอยกระทงมีคำกล่าวบูชา ซึ่งหมายถึงบูชารอยพระพุทธบาทที่หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำว่าดังนี้
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
“ อหํ อิมานิ ปทิเปน อัสกาย นมมทาย นทิยา ปุลิเน ฐิตํมโนนิ ปาหวลญชํ อภิปูเชมิ อยํ ปทิเปน มุนิโน ปาทวลญชํ ปูชา มยหํ ฑีฆรตตํ หิตาย สุขาย สัวตตตุ “ มีคำแปลว่า “ ข้าพเจ้าขอน้อมบูชารอยพระพุทธบาทของสมเด็จพระมหามนีเจ้า อันประดิษฐานอยู่ ณ หาดทราบแห่งแม่น้ำนัมทาโพ้น ด้วยประทีปนี้ ขอให้การบูชารอยพระบาทสมเด็จพระมหามุนีเจ้า ด้วยประทีปนี้จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าสิ้นกาลนานเทอญ”
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สำหรับจังหวัดระยอง ประเพณีลอยกระทงถือเป็นประเพณีที่สำคัญอย่างหนึ่งทุกท้องที่จะระลึกถึงวันสำคัญนี้ แต่จะจัดเป็นงานใหญ่โตแค่ไหนเพียงใดนั้น แล้วแต่ความพร้อมของท้องถิ่น วันลอยกระทงก็ถือวันเพ็ญเดือนสิบสอง ดังเนื้อเพลงที่ร้องกันอยู่ทั่วไป ประเพณีลอยกระทงซึ่งจัดเป็นงานใหญ่ และมีกิจกรรมอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น แข่งขันกีฬา จัดประกวดเทพี จัดแข่งเรือ ก็มีปฏิบัติกัน เช่น ที่ตำบลพลาปากน้ำระยอง วัดชากลูกหญ้า วัดห้วยยาง ฯลฯ
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีแห่เทียนพรรษา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บางแห่งก็จัดงานกันเอง และจัดขบวนแห่แหนไปถวายวัดตามที่ต้องการ บางแห่งก็รวมจัดที่วัดโดยแรงศรัทธาของประชาชนในหมู่บ้าน มีการเล่นสมโภช มีขบวนกลองยาวนำแห่เป็นที่สนุกสนาน แต่ถ้าทำที่วัดการตกแต่งรถแห่ประกวดสาวงามสดสวยนั้น อาจขาดหายไปเพราะมิได้เคลื่อนขบวนไปไหนเพียงแต่แห่รอบพระอุโบสถเท่านั้น | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีวันสารท | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คำว่า “ สารท “ เป็นชื่อฤดูใบไม้ผลิ เรานิยมทำบุญวันสารท สืบทอดกันมาแต่โบราณ เป็นการทำบุญกลางปี กำหนดวันสิ้นเดือน ๑๐ เมื่อถึงกำหนดวันนี้ ชาวพุทธตระเตรียมเครื่องกระยาสารทไปทำบุญที่วัดตามที่ตนต้องการจะทำบุญ ตักบาตร เลี้ยงพระ ดังเช่น คำกลอนในนิราศเดือนต่อไปนี้
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พิธีสารทนี้เนื่องมาจากคติของพราหมณ์ ได้สอบถามผู้รู้หลายท่านก็ได้รับคำตอบเป็นแนวเดียวกันว่า เดือน ๑๐ เป็นฤดูที่ข้าวสาลีในท้องนากำลังออกรวงอ่อน ชาวบ้านชาวเมืองก็มักจะเด็ดรวงข้าวหรือเก็บเกี่ยวในครั้งแรก เอามาทำมธุปายาสยาคูเลี้ยงพราหมณ์เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา ชาวพุทธจึงนับถือเป็นนักขัตฤกษ์ บางแห่งจัดงานใหญ่เพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่บุพพเปตชน คือผู้ที่ล่วงลับไปก่อนแล้ว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ของไทยเราการทำบุญในพิธีต้องตระเตรียมโภชนากระยาหาร จัดทำข้าวกระยาสารท โดยใช้ข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่วงา น้ำตาล บางทีก็มีกล้วย เนื้อในลูกกระบก กวนให้เข้ากัน ซึ่งใคร ๆ ได้ทำกันได้ ไม่จำกัดว่าต้องเป็นสาวพรหมจารี เหมือนกับพิธีกวนข้าวทิพย์ ซึ่งชาวจังหวัดระยองโดยทั่วไปทุกๆ หมู่บ้านทำกันได้เอง แต่ทว่าจะให้ดีมีชื่อก็เหมือนทำขนม ดึงดูดลูกค้ามากน้อยแตกต่างกัน ผู้กวนกระยาสารทต้องเป็นคนมีฝีมือ จึงจะเหนียวกรอบ น่ารับประทาน ปัจจุบันจะเห็นทำเป็นแผ่นก็มี ครั้นถึงวันแรกเดือน ๑๐ แรม ๑๕ ค่ำ ไปทำบุญตักบาตร ร่วมเลี้ยงพระ บางแห่งก็มีพระธรรมเทศนาด้วย
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การทำบุญวันสารทนี้ บางแห่งบางท้องที่ก็ดัดแปลงให้เข้ากับคติทางพระพุทธศาสนา ซึ่งถือกันว่าการทำบุญนี้มีเพียงปีละครั้ง ได้ผลานิสงส์มาก และเพื่อเป็นการเตือนใจตนเองว่า เวลาได้ล่วงมาครึ่งปีแล้ว บังเกิดผลเพียงใด ข้างหน้าจะเป็นอย่างชีวิตเราใกล้จะจบสิ้นลงทุกขณะแล้ว ทำให้เกิดความคิด ระลึกถึงความตาย อันเป็นธรรมดาของเราทั้งหลาย เตือนใจไม่ให้ประมาณและรีบบำเพ็ญกุศลไว้เป็นเสบียงแก่ตนในปรภพ และเมื่อทำบุญแล้วแต่ละครั้งก็กรวดน้ำอุทิศแผ่ผลบุญให้แก่ญาติและผู้ที่มีพระคุณที่ล่วงลับไป แล้วด้วย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีเทศน์มหาชาติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การจัดเทศน์ จะจัดเรียงไปตามลำดับกัณฑ์ เว้นแต่บางแห่งจะเลือกจัดเฉพาะบางกัณฑ์ ตามเหมาะสม กัณฑ์หนึ่งจบ กัณฑ์ใหม่ก็แห่เข้ามา พุ่มเงินนำหน้าตามด้วยเครื่องไทยทานอื่น ๆ เจ้าหน้าที่หรือเจ้าพิธีก็จะดำเนินการบูชา และนำถวายของประจำกัณฑ์
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อีกอย่างหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือ “ ขันน้ำพร ” เจ้าของกัณฑ์ จะเตรียมเทียนมาจุดบูชาเท่าจำนวนคาถา พระเทศน์ไป หนุ่ม สาว เฒ่า แก่ เด็ก ก็หยอดเทียนกันไป ก็ดูดี เพลงพิณพาทย์ประจำกันฑ์เทศน์
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีวิ่งควายที่ปลวกแดง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประวัตความเป็นมา ประเพณีการวิ่งควายนี้ ท้องที่อำเภอปลวกแดง บางตำบลในปัจจุบันเดิมที่เดียวอยู่ในเขตชองจังหวัดชลบุรี ฉะนั้นชาวบ้านแถบตำบลปลวกแดง ตำบลตาสิทธิ์ของอำเภอปลวกแดงในปัจจุบัน ยังถือว่าประเพณีการวิ่งควายยังเป็นของเขาเช่นเดียวกั้น เมื่อเขายังอยู่ในเขตชลบุรี | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จุดมุ่งหมาย เพื่อให้ควายได้พักผ่อนจากงานในไร่หรือนา และเพื่อสนองความเชื่อที่ว่า หากปีใดไม่มีการวิ่งควาย ปีนั้นวัวควายจะเป็นโรคระบาดตายกันมาก เพื่อแสดงความรู้คุณต่อควายซึ่งเป็นสัตว์ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพทำไร่ทำนาและเพื่อให้ชาวบ้านมาพบปะสังสรรค์กัน ส่วนใหญ่จัดกันที่ตลาดปลวกแดง และตลาดโรงงานบริษัทน้ำตาลตะวันออก ซึ่งอยู่ในท้องที่ ตำบลปลวกแดง หมู่ที่ ๑ และตำบลตาสิทธิ์ หมู่ที่ ๒ ประเพณี จัดขึ้นทุกปี เป็นประจำ ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ หลังจากตักบาตรเทโวโรหนะแล้ว ประเพณีการวิ่งควายของอำเภอปลวกแดง เดิมมีแต่คนในท้องถิ่นรู้จักเท่านั้น แต่ในปัจจุบันประเพณีการวิ่งควายเป็นประเพณีของอำเภอปลวกแดง และเป็นประเพณีที่รู้จักของคนทั่วไปแล้ว โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง (นายฉลอง วงษา) ได้ไปเป็นประธานการวิ่งควายพร้อมด้วยนายอำเภออิสสระ สุดแสวง ตั้งแต่ปี ๒๕๒๙ เป็นต้นมา (ขณะเล่าเรื่องนี้ท่านผู้ว่าฯ ไปเป็นประธาน ๒ ปีแล้ว) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขั้นตอนในการประกอบประเพณี เจ้าของควายจะตกแต่งควายอย่างงดงามด้วยผ้าผ่อนแพรพรรณดอกไม้หลายหลากสี ตัวเจ้าขอควายเองก็แต่งตัวอย่างงดงาม แปลกตา เช่น แต่งเป็นชาวเขา ชาวอินเดียนแดง หรือตกแต่งด้วยเครื่องทองประดับเพชรเหมือนเจ้าชายในลิเกละครที่แปลกตา แล้วนำควายมาวิ่งแข่งขันกัน ประกวดความสมบูรณ์ของควายกัน โดยเจ้าของเป็นผู้ขี่มาบนหลังควาย ความสนุกสนานอยู่ที่ท่าทางวิ่งควายที่แปลก บางคนขี่แล้วลื่นไหลตกจากหลังควย คนดูจะส่งเสียงเชียร์อย่างสนุกสนาน เสียงดัง และในปัจจุบันยังเพิ่มรางวัลการตกแต่งความสวยงามและตลกขบขัน และมีการประกวดธิดาควาย หรือเรียกให้สุภาพหน่อยก็เรียกว่าธิดาบ้านไร่บ้านนา จนทำให้ประเพณีการวิ่งควายมีกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีทอดกฐิน
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตำนาน ครั้งพุทธกาลมีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์พระวินัยปิฏกกฐินขันธกะว่า ครั้งหนึ่งภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ ๓๐ รูป ถือธุดงวัตรอย่างยิ่ง มีความประสงค์จะเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งขณะนั้นประทับอยู่กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล จึงพากันเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมืองนั้น พอถึงเมืองสาเกตุ อยู่ห่างจากกรุงสาวัตถีประมาณ ๖ โยชน์ ก็เป็นวันเข้าพรรษาพอดีทางต่อไปมิได้ต้องจำพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกตตามพระวินัยบัญญัติ ขณะที่จำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต เกิดความร้อนรนอยากเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นกำลัง พอออกพรรษาปวารณาแล้วก็รีบเดินทาง แต่ระยะนั้นยังมีฝนตกมาก หนทางที่เดินชุ่มไปด้วยน้ำเป็นโคลนเป็นตม ต้องเดินบุกต้องลุยมาจนกระทั่งถึงกรุงสาวัตถ์ ได้เข้าเฝ้าสมความประสงค์ พระพุทธเจ้าจึงมีปฏิสันถารกับภิกษุเหล่านั้น จึงกราบทูลถึงความตั้งใจความร้อนรนกระวนกระวาย และการเดินทางที่ลำบากให้ทรงกราบทุกประการ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระพุทธเจ้าทรงกราบ และเห็นความลำบากของภิกษุ จึงทรงยกเป็นเหตุ และมีพระพุทธานุญาติ ให้พระภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนแล้วกราบกฐินได้และเมื่อกรานกฐินแล้ว จะได้รับอานิสงส์บางข้อตามพระวินัยดังกล่าวต่อไป
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อกำหนดเกี่ยวกับกฐิน
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑ . จำนวนพระสงฆ์ในวัดที่จะทอดกฐินได้ หมายถึงจำนวนพระสงฆ์ในวัดที่จะทอดกฐินได้ต้องมีตั้งแต่ ๔ รูปขึ้น | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๒ . คุณสมบัติของพระสงฆ์ ที่มีสิทธิรับกฐิน คือ พระสงฆ์ที่จำพรรษาในวัดนั้นครบ ๓ เดือน
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๓ . กำหนดกาลที่จะทอดกฐินได้ การทอดกฐินนั้นทำได้ภายในเวลาจำกัด คือ ตั้งแต่ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ จนถึง วันขึ้น๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ก่อนหน้านั้น
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๔ . ข้อควรทราบเกี่ยวกับกฐินไม่เป็นอันทอดหรือเป็นโมฆะ กราบทั้งผู้ทอดและทั้งฝ่ายพระสงฆ์ผู้รับ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเภทของกฐิน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การทอดมีหลักฐานที่ปรากฏนับตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ปัจจุบันแยกประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังต่อไปนี้
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑ . กฐินหลวง วัดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นวัดหลวงหรือวัดราษฎร์ หากพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชทานเพื่อไปถวายผ้ากฐิน ถือเป็นกฐินหลวง
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๒. กฐินต้น การบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์ มิได้เสด็จ
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๓. กฐินพระราชทาน คือกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานผ้าของหลวงแก่ผู้ที่กราบบังคม ทูลขอพระราชเพื่อไปถวายวัดหลวง
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๔ . ชื่อเรียกแตกต่างกัน ตามลักษณะของวิธีการทอดคือ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๕ . ข้อปฏิบัติในการทอดกฐิน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๖ . อานิสงส์หรือผลดีของการทอดกฐิน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีการสวดหน้าศพ
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ในสมัยโบราณ เมื่อมีการตายเกิดขึ้นญาติที่น้องจะใช้ผ้าขาวตราสังศพให้แน่นแล้วใส่โลงหมอผีประจำหมู่บ้านจะใช้น้ำมะพร้าวล้างหน้าศพ แล้วกล่าวให้ผู้ตายไปสู่สุคติ อย่างห่วงกังวลลูกหลานจากนั้นนำศพไปไว้บนเชิงตะกอนที่วัดให้สูงจากพื้นดินเพื่อใส่ฟืนด้านล่าง แล้วยกโลงวางบนเชิงตะกอนการเผาจะเผาตอนกลางวันประมาณหลังเที่ยง เพื่อให้ศพไหม้ก่อนค่ำจะได้ไม่ถูกสัตว์ร้ายรบกวน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีงานศพในท้องถิ่น เมื่อมีการตายที่บ้านจะทำพิธีกรรมในบ้าน แต่ถ้าตายนอกบ้านมีความเชื่อว่าห้ามนำศพเข้ามาไว้ในชายคาบ้านโดยเด็ดขาด การกจัดพิธีกรรมในงานศพจะมีการสวดหน้าศพเป็นประเพณี “ การสวด ” หมายถึง การร้อง หรืออ่านเป็นทำนองเนื่องด้วยศาสนากิจ เช่น การสวดพระอภิธรรม สวดพระปาฎิโมกข์ สวดพระปริตร และสวดคฤหัสถ์ เป็นต้น | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การสวดหน้าศพ หรือการสวดคฤหัสถ์ ของนักสวดที่เป็นฆราวาส จะเริ่มหลังจากพระสวดอภิธรรมจบแล้ว เจ้าภาพจะจัดนักสวดชายหญิงมาร่วมร้องเพลงสวดพระมาลัยเพราะเป็นเพลงสวดสั่งสอนให้คลายความโศก ซึ่งการรำและมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การสวดหน้าศพเป็นการอยู่เป็นเพื่อนบรรดาญาติและผู้ที่มาเยี่ยมศพ ขจัดความว้าเหว่ของเจ้าภาพด้วย
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การสวดหน้าศพ หรือคฤหัสถ์ตามประเพณีท้องถิ่นนั้น มีบทสวดที่เรียกว่า “ พื้น ” อยู่ ๔อย่างนักสวดจะสวดทั้ง ๔ พื้น คือ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑ . พื้นพระอภิธรรม คือ บทสวดที่มีบทขึ้นต้นว่า กุสลา ธรรมา อกุสลา ธรรมา ตามพระอภิธรรมที่พระพุทธเจ้าเทศนา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๒ . พื้นโพชญงค์มอญหรือหับเผย ขึ้นต้นสวดว่า หับเผย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๓ . พื้นพระมาลัย นำเนื้อความมาจาก “ กาพย์มาลัยสูตร ที่เรียกว่าพระมาลัย ซึ่งเขียนเป็นคัมภีร์ลงในสมุดเล่มโต บรรจุอยู่ในหีบพระธรรม ในพระสูตรนั้น ได้เล่าเรื่อง พระมาลัยเถระชาวลังการับดอกบัว ๘ ดอก จากทุคคตะคนยากแล้วนำไปบูชาพระจุฬามณี พระเมาฬี ของพระพุทธองค์ที่ พระอินทร์รับไปบรรจุพระเจดีย์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ “ การสวดพื้นมาลัย นักสวดจะทำเสียงให้น่ากลัวเพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้ฟังกลัว เพื่อจะได้ไม่ทำบาป
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การสวดหน้าศพ หรือคฤหัสถ์เนื้อร้องจะสวดพระมาลัยในส่วนแรก ส่วนหลังจะเป็นเนื้อเรื่องทั่ว ๆ ไป ตัดตอนมาจากวรรณคดี เช่น อิเหนา ราชาธิราช ไกรทอง เมฆขลา พระภัยมณี เป็นต้น ไม่ซ้ำเรื่องเดิมดังตัวอย่างที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การสวดหน้าศพ เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นจังหวัดระยองอย่างหนึ่งของงานศพ ปัจจุบันผู้สืบทอดการสวดหน้าศพเหลือน้อยหรืออาจไม่พบในบางท้องถิ่น | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเพณีการสวดหน้าศพในปัจจุบัน มีการแทรกเพลงอันเป็นเอกลักษณ์สำคัญลงในบทสวดทำให้การสวดมีแนวโน้มเป็นเพลงสวดหรือเพลงประกอบที่ว่า
ด้วยการตายมากกว่าที่จะเป็นบทสวด แต่ก็ยังเรียกว่า การสวดหน้าศพ หรือสวดคฤหัสถ์ตามความหมายเดิม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
งานเทศกาลผลไม้ และของดีเมืองระยอง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เป็นงานเทศกาลประจำปีจัดในช่วงฤดูผลไม้ ประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี สถานที่จัดงานจะสลับหมุนเวียนกันระหว่างอำเภอเมืองระยอง กับอำเภอแกลง ในงานจัดให้มีขบวนแห่รถประดับด้วยผลไม้ การประกวดผลไม้ ประกวดธิดาชาวสวนผลไม้ การจำหน่ายผลไม้ และผลิตภัณฑ์จากอาหารทะเล ตลอดจนการแสดงนิทรรศการด้านการเกษตร
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
งานวันสุนทรภู่
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น